วันศุกร์ที่ 24 สิงหาคม พ.ศ. 2555

ทักษะภาษาไทยเพื่ออาชีพบทที่ 4


หน่วยที่ ๔.  การเขียนบันทึก
ความหมายและความสำคัญของการบันทึก
การเขียนบันทึก คือ การเขียนบันทึกข้อมูลที่เป็นประสบการณ์ ความรู้ หรือข้อความสำคัญในการจดบันทึก ต้องบอกแหล่งที่มา หรือวัน เวลาที่จดบันทึกไว้ด้วย
หลักการเขียนบันทึก/ประเภทของบันทึก
๑. ประเภทของการเขียนบันทึก มี ๒ ประเภท ดังนี้
     ๑.๑  การเขียนบันทึกเหตุการณ์ เป็นการเขียนเรื่องราวที่ได้พบเห็นเรื่องใดเรื่องหนึ่ง เพื่อเป็นการบันทึกความรู้ เตือนความจำ บรรยายความรู้สึก หรือเเสดงข้อคิดเห็น
      ๑.๒  การเขียนบันทึกเหตุการณ์ประจำวัน เป็นการเขียนเรื่องราวส่วนตัว หรือเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นหรือที่พบเห็นจากการเดินทางในแต่ละวัน เพื่อเตือนความจำ แสดงความรู้สึก และข้อคิดเห็น
การเขียนบันทึกข้อความ / การลงท้ายบันทึกข้อความ
สิ่งที่ต้องมีในการเขียนบันทึกเหตุการณ์ คือ
๑. วัน เดือน ปี ที่บันทึก
๒. แหล่งที่มาของเรื่องราวทีได้พบเห็นมา
๓. เรื่องราวที่พบเห็นมา โดยสรุปย่อสาระสำคัญด้วยสำนวนภาษาของตน ซึ่งอาจจะเเสดงข้อคิดเห็นด้วย
การเขียนบันทึกเหตุการณ์จากการค้นคว้าเพื่อบันทึกความรู้เป็นการสร้างนิสัยรักการอ่านและการเเสวงหาความรู้เพิ่มเติมจากสื่อต่างๆ นอกจากนี้ยังเป็นการฝึกย่อความป้องกันการหลงลืม และประหยัดเวลาด้วย
๒. ข้อควรปฏิบัติในการเขียนบันทึก
๒.๑ ทำความเข้าใจกับเรื่องราว โดยเรียงลำดับความคิดและเนื้อเรื่องให้เข้าใจง่าย
๒.๒ บันทึกด้วยสำนวนภาษาของตนเอง ให้อ่านง่ายและเป็นระเบียบ
๒.๓ บันทึกเฉพาะสาระสำคัญ เช่น ใคร ทำอะไร ที่ไหน เมื่อไหร่ ทำไม
                              ๒.๔ ฝึกบันทึกอย่างรวดเร็ว เช่น ใช้เครื่องหมายและอักษรย่อ ขีดเส้นใต้หัวข้อและประเด็นสำคัญ
๓. วิธีการเขียนบันทึก
๓.๑ ลำดับความให้เชื่อมโยงต่อเนื่องกัน ไม่วกวน เช่น
ตอนบ่ายง่วงนอนเพราะดูทีวีจนดึงจึงนั่งสัปหงก หนูลีชวนไปเล่นวิ่งไล่จับเลยหายง่วง เลิกเรียนเเล้วกลับบ้าน และช่วยคุณเเม่ทำกับข้าว กลางคืนทำการบ้านเสร็จ แล้วรีบเข้านอน
๓.๒  ลำดับเหตุการณ์ เช่น
      วันที่ ๑ มกราคม ๒๕๕๐
      เวลา ๑๐.๐๐ น. เสียงร้องเพลงดังรบกวนขณะที่ฉันกำลังดูหนังสือ
      เวลา ๑๐.๓๐ น. เสียงร้องเพลงดังกว่าเดิม จึงตะโกนถามและบอกให้ลดเสียง
      เวลา ๑๑.๑๐ น. เสียงร้องเพลงดังมากขึ้นเหมือนจงใจจะเเกล้ง ฉันเลยหยุดดูหนังสือ ไปทำงานอื่นเเทน
๓.๓ การเชื่อมโยง เช่น ตอนสายเสียงร้องเพลงดัง เวลาต่อมากเสียงร้องเพลงดังมากขึ้น ต่อมาจึงหยุดดูหนังสือ
๓.๔ การเน้นใจความสำคัญ เช่น เริ่มเรื่อง ร้องเพลงเสียงดัง ตะโกนถาม ผล เสียงร้องเพลงดังขึ้นสรุป เลิกดูหนังสือ หันไปทำงานอื่น ผล เหตุการณ์สงบ

ตัวอย่าง การเขียนบันทึกเหตุการณ์
                                                                                 ๑ ตุลาคม ๒๕๔๙
              กระทรวงการคลังได้ข้อยุติในมาตรการลดหย่อนภาษีเพื่อช่วยเหลือสังคม และพัฒนาศักยภาพในการเเข่งขันให้แก่ผู้ประกอบการไทย
              รมว. คลังสั่งให้กรมสรรพากรหักค่าลดหย่อนสำหรับการเลี้ยงดูบุพการี โดยคนที่เลี้ยงดูพ่อเเม่ของตัวเอง สามารถนำค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นมาหักเป็นค่าลดหย่อนได้คนละ ๓๐,๐๐๐ บาทโดยบุพการีมราเลี้ยงดูนั้นไม่จำเป็นต้องมีชื่ออยู่ในทะเบียนบ้าน

ตัวอย่าง การเขียนบันทึกเหตุการณ์ประจำวัน
                                                                     ๑๒ พฤศจิกายน ๒๕๕๐
           วันที่ฉันไปโรงเรียนตั้งเเต่ ๖.๕๔ น. เพื่อไปรดน้ำผักบุ้งที่แปลงผักหลังอาคารเรียน ฉันยืนมองผักบุ้งที่แตกยอดอวบงามแล้วรู้สึกภูมิใจมากที่ฉันสามารถปลูกผักให้งอกงามได้ด้วยมือของฉันเอง
            ๘.๐๐ น. เรียนวิชาภาษาไทยกับคุณครูมณี วันนี้เราเรียนเรื่องการใช้สำนวนภาษาในการสื่อสารกัน คุณครูมณีจึงให้ฉันยกตัวอย่างสำนวนมา ๑ สำนวน ฉันยกตัวอย่างสำนวนว่า \"เป็นปืนเป็นไฟ\" ซึ่งหมายถึง อาการโกรธอย่างรุนแรง เพื่อนๆ ก็หัวเราะ และล้อฉันว่าฉันคงโกรธเป็นฟืนเป็นไฟ ถ้าหากใครไปทำให้แปลงผักบุ้งเสียหาย ฉันยิ้มรับและหัวเราะ

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น