วันอังคารที่ 14 สิงหาคม พ.ศ. 2555

ทักษะภาษาไทยเพื่ออาชีพบทที่ 1


รายงาน
เรื่อง วิชา ทักษะภาษาไทยเพื่ออาชีพ
รหัส วิชา ๓ooo-๑๑o


หน่วยที่ ๑.
การวิเคราะห์ และประเมินค่าสารจากการฟังและการดู  แนวคิด

สารให้ความรู้  
การฟังอย่างวิเคราะห์สาร
            วิเคราะห์สาร หมายถึง    การที่ผู้ฟังสารแล้ว สามารถแยกสิ่งที่ฟังออกมาเป็นส่วน ๆ นำมาพิจารณาอย่างถี่ถ้วน    เช่น
แยกว่าข้อความที่ฟัง ข้อความใดเป็นสาระสำคัญ ข้อความใดเป็นข้อเท็จจริง ข้อความใดเป็นข้อคิดเห็น    ฟังแล้วบอกได้ว่า ผู้พูด
มีจุดประสงค์อะไร เรื่องที่ฟังมีประโยชน์มีคุณค่าอย่างไร    ฯลฯ

การฟังอย่างวินิจสาร
            วินิจสาร หมายความว่า  การพิจารณาสารด้วยความเอาใจใส่ พยายามฟังสารอย่างไตร่ตรอง พิจารณาหาเหตุผล ตีความ
หมายของสาร    พิจารณาสำนวนภาษาตลอดจนน้ำเสียงของผู้พูดด้วยก็จะทำให้เข้าใจความหมายที่แท้จริงของสาร  เพื่อให้ได้

ประโยชน์ตามวัตถุประสงค์ของผู้วินิจ
การฟังอย่างประเมินค่าสาร
            ประเมินค่าสาร ก็หมายความว่า    มีการตรวจสอบสิ่งที่ฟังว่าถูกต้อง ชัดเจน ถูกต้องมีเหตุผลน่าเชื่อถือหรือไม่ มีคุณค่า
หรือไม่    แล้วตัดสินว่าสิ่งที่ฟังมีคุณค่ามีประโยชน์อย่างไร

ขั้นตอนการวิเคราะห์สาร
๑. พิจารณาสารว่าเป็นรูปแบบใด    เป็นร้อยแก้ว หรือร้อยกรอง เป็นบทความ หรือเรื่องสั้น หรือข่าว
              ๒. แยกเนื้อเรื่องออกเป็นส่วน    ๆ ให้เห็นว่าใครทำอะไร ที่ไหน อย่างไร เมื่อไร
              ๓. แยกพิจารณาแต่ละส่วนให้ละเอียดลงไป    เช่น มีตัวละครสำคัญกี่ตัว แต่ละตัวมีพฤติกรรมที่สำคัญอย่างไรบ้าง
              ๔. พิจารณากลวิธีของผู้ส่งสารว่า    ใช้กลวิธีใดในการเสนอสารนั้น ๆ

ขั้นตอนการวินิจสาร
๑. สำรวจว่าข้อความตอนใดเป็นข้อเท็จจริง
๒. บอกจุดมุ่งหมายหรือเจตนาของผู้ส่งสารได้ว่าต้องการส่งสารเพื่ออะไร    ให้แง่คิดต่าง ๆ แก่ผู้รับสารอย่างไรบ้าง
              ๓. พิจารณาว่าสารที่สำคัญที่สุดคืออะไร    สาระสำคัญรองลงมาคืออะไร
              นอกจากนี้ในการวิเคราะห์และวินิจสารทุกชนิด จะต้องพิจารณาถึงการ ใช้ถ้อยคำ สำนวนภาษาว่าเหมาะสมกับระดับกับประเภทของสารหรือไม่           และในขณะที่รับสารอยู่หรือรับสารจบแล้ว    จะเกิดความคิด ขณะรับสารอยู่เราจะเรียกว่า ความคิดแทรก ซึ่งแต่ละคนจะคิด เกิดความคิดไม่เหมือนกัน    และหลังจากรับสารแล้ว จะเกิดความคิดเสริมเป็นความคิดต่อเนื่องจากสารที่รับ

ขั้นตอนการประเมินค่าสาร
การประเมินค่าจากเรื่องที่ฟัง
            แนวปฏิบัติในการประเมินค่าสาร    มีดังนี้
              ๑. ทำความเข้าใจกับสารนั้นอย่างชัดเจนก่อน    เช่น เป็นสารประเภทใด มีเนื้อหาอย่างไร ผู้แต่งมีจุดมุ่งหมายหรือเจตนาอะไรในการส่งสาร    นั่นก็คือต้องวิเคราะห์สารอย่างละเอียดก่อน
               ๒. การประเมินค่าสารใดก็ตาม    ควรจะมีเกณฑ์การประเมิน โดยทั่ว ๆ ไปจะมีเกณฑ์ ดังนี้
               การฟังเพื่อการประเมินค่า    เป็นการฟังเพื่อตรวจสอบสิ่งที่ฟังว่าถูกต้อง มีเหตุผลเชื่อถือได้หรือไม่ มีคุณค่าหรือไม่  เป็นการฟังอย่างวิเคราะห์ วิจารณ์ แล้วตัดสินสิ่งที่ฟังว่ามีคุณค่าและประโยชน์อย่างไร
               ๓. สารนั้นต้องเป็นประโยชน์และสร้างสรรค์    เป็นสารที่ให้ความรู้ความคิดที่จะก่อให้เกิดประโยชน์แก่ตัวผู้รับสาร และแก่ส่วนรวม    และเป็นสารที่จะช่วยอนุรักษ์สิ่งดีงามของสังคมให้คงอยู่ตลอดไป
               ๔. การใช้ภาษามีความชัดเจนเหมาะสมกับกาลเทศะและบุคคล    ถูกต้องตามหลักไวยากรณ์และโครงสร้างของภาษาไทย
               กล่าวได้ว่า การฟังเพื่อการประเมินค่าเป็นการฟังเพื่อตรวจสอบสิ่งที่ฟังว่าถูกต้อง    มีเหตุผล เชื่อถือได้หรือไม่ มีคุณค่าหรือไม่ เป็นการฟังอย่างวิเคราะห์วิจารณ์    แล้วตัดสินสิ่งที่ฟังว่ามีคุณค่าและประโยชน์อย่างไร
                  สารโน้มน้าวใจ 
การโน้มน้าวใจ คือ การพยายามทำให้บุคคลอื่นเปลี่ยนการกระทำ หรือทัศนคติ  ความเชื่อ ค่านิยมต่างๆ โดยใช้กลวิธีที่เหมาะสมให้เกิดการยอมรับและเปลี่ยนพฤติกรรมซึ่งรวมถึงทัศนคติ ค่านิยม ความเชื่อ และการกระทำ
การเขียนโน้มน้าวใจ เป็นการเขียนที่ต้องการให้ผู้อ่านเปลี่ยนแปลงความคิด ทัศนคติ ความเชื่อ หรือพฤติกรรม ให้คล้อยตามความคิดของผู้เขียน เช่น การเขียนให้คนบริจาคเงินเพื่อสาธารณกุศล การเขียนเพื่อให้คนเปลี่ยนพฤติกรรมการกิน เป็นต้น

        การเขียนโน้มน้าวใจอาจปรากฏในรูปแบบต่างๆ เช่น ในรูปแบบของการโฆษณา การหาเสียงเลือกตั้ง และการเชิญชวน เป็นต้น

๒. ความต้องการขั้นพื้นฐานของมนุษย์กับการโน้มน้าวใจ
        ความต้องการขั้นพื้นฐานของมนุษย์เป็นแรงผลักดันให้มนุษย์สร้างทัศนคติ ความเชื่อ และค่านิยม รวมทั้งมีพฤติกรรมต่างๆ เพื่อสนองความต้องการของตน ความต้องการขั้นพื้นฐานของมนุษย์ตามทฤษฎีของมาสโลว์มี ๕ ระดับ คือ

ความต้องการทางร่างกาย ได้แก่ อาหาร ที่อยู่อาศัย เครื่องนุ่งห่มและยารักษาโรค ซึ่งเป็นปัจจัยสี่ที่ทุกคนต้องการ. ความปลอดภัย เมื่อมนุษย์มีปัจจัยสี่แล้ว ทุกคนก็อยากมีชีวิตอยู่ต่อไป จึงต้องการความมั่นคงปลอดภัยจากรายได้ในการทำงานเพื่อการดำรงชีวิต. ความเป็นเจ้าของ เมื่อมนุษย์มีฐานะและความเป็นอยู่ดีสมควร มนุษย์ก็จะเริ่มมองหาเพื่อน ญาติมิตร และมีครอบครัว เพื่อมีส่วนร่วมเป็นเจ้าของและเพื่อสร้างฐานะ สร้างครอบครัว วงศ์ตระกูล. ความยอมรับในสังคม เป็นความต้องการให้คนอื่นยอมรับและนับหน้าถือตา บางคนต้องการมีบารมี ต้องการมีอิทธิพลในสังคม. ความสำเร็จ เป็นความต้องการขั้นสุดยอดของมนุษย์ กล่าวคือมนุษย์ต้องการทำทุกอย่างให้สำเร็จไม่ว่าจะเป็นกิจกรรมใดๆก็ตาม

        ดังนั้นหลักสำคัญที่สุดในการโน้มน้าวใจก็คือ ต้องทำให้มนุษย์ประจักษ์ชัดแก่ใจตนเองว่า ถ้าเชื่อและเห็นคุณค่าหรือกระทำตามที่ผู้โน้มน้าวชี้แจงหรือชักนำแล้ว ก็จะได้รับผลตอบสนองความต้องการขั้นพื้นฐานของตนนั่นเอง

๓. กลวิธีการโน้มน้าวใจ
                การโน้มน้าวใจทำได้หลายวิธี ที่สำคัญ ได้แก่. แสดงให้ประจักษ์ถึงความน่าเชื่อถือของผู้โน้มน้าวใจบุคคลที่จะได้รับความเชื่อถือจากบุคคลอื่นจะต้องมีความรู้จริง มีคุณธรรม และมีความปรารถนาดีต่อผู้อื่น การโน้มน้าวใจจึงต้องทำให้ผู้รับสารเห็นคุณลักษณะที่ดีเหล่านี้ของผู้โน้มน้าวใจ เพื่อจะได้เกิดความเชื่อถือ และยินดีปฏิบัติตามด้วยตนเอง

แนวทางการปฏิบัติให้มีลักษณะดังกล่าว อาจทำได้โดย
ขั้นที่ ๑ ทำตนให้มีคุณสมบัติดังกล่าวจริง
ขั้นที่ ๒ หาวิธีที่จะทำให้บุคคลที่ต้องการโน้มน้าวใจประจักษ์ในคุณลักษณะดังกล่าวคือ
        ๑.๑ การแสดงว่ามีความรู้จริง อาจทำได้โดยอธิบายเรื่องราวได้ละเอียดลออ ถูกต้อง  แม่นยำ แสดงความรู้ได้ลุ่มลึกชัดเจน
        ๑.๒ การแสดงว่ามีคุณธรรม อาจทำได้โดยการเล่าประสบการณ์จริงที่แสดงให้เห็นถึงความมีคุณธรรมต่างๆ
        ๑.๓ การแสดงความปรารถนาดีต่อผู้อื่น อาจทำได้โดยการให้คำมั่นสัญญาที่อยู่ในวิสัยที่ปฏิบัติได้ ซึ่งแสดงความปรารถนาดีของตนหรือชี้ให้เห็นความห่วงใย ชี้ให้เห็นแนวทางปฏิบัติที่เป็นประโยชน์ต่อผู้ปฏิบัติ

แสดงให้เห็นความหนักแน่นของเหตุผล มนุษย์เป็นสิ่งมีชีวิตประเภทเดียวที่รู้จักใช้เหตุผล บุคคลยิ่งมีปัญญาสูงยิ่งคล้อยตามคำโน้มน้าวใจอันขาดเหตุผลของบุคคลอื่นได้ยาก เพราะฉะนั้นเพื่อให้การโน้มน้าวประสบความสำเร็จ ผู้โน้มน้าวใจต้องแสดงให้ประจักษ์ว่า เรื่องที่ตนกำลังโน้มน้าวอยู่นั้น มีเหตุผลหนักแน่น และมีค่าควรแก่การยอมรับอย่างแท้จริง. แสดงให้ประจักษ์ถึงความรู้สึกหรืออารมณ์ร่วมกัน บุคคลที่มีความรู้สึกหรืออารมณ์ร่วมกันย่อมคล้อยตามกันได้ง่ายกว่าบุคคลที่มีความรู้สึกเป็นปฏิปักษ์ต่อกัน ตัวอย่างของความรู้สึกหรืออารมณ์ร่วมกัน เช่น มีความนิยมเชื่อถือในสิ่งเดียวกัน มีความเคารพรักต่อบุคคลหรือสถาบันเดียวกัน มีความรังเกียจในสิ่งเดียวกัน เป็นต้น. แสดงให้เห็นทางเลือกทั้งด้านดีและด้านเสีย การโน้มน้าวใจให้ผู้อื่นเกิดความคิดนึกเชื่อถือปฏิบัติตามที่ผู้โน้มน้าวใจต้องการนั้น ตามธรรมดาที่จะต้องมีทางเลือกหลายทาง ในการนี้หากผู้โน้มน้าวใจแสดงแต่เฉพาะด้านดีของแนวทางที่ตนต้องการ อาจสัมฤทธิ์ผลได้ยาก ถ้าชี้ให้เห็นด้านไม่ดีด้วย เพื่อให้ผู้ถูกโน้มน้าวใจมีโอกาสใช้วิจารณญาณของตนเองเปรียบเทียบจนประจักษ์ว่าทางที่ชี้แนะนั้นด้านดีมีมากกว่า เช่นนี้แล้วก็จะทำให้การโน้มน้าวใจสัมฤทธิผลได้

สร้างความหรรษาแก่ผู้รับสาร การโน้มน้าวใจในเรื่องบางเรื่องหากเอาจริงเอาจังเกินไปแล้ว การโน้มน้าวใจจะไม่ได้ผล แต่ถ้าใช้วิธีการแบบทีเล่นทีจริงหรือใช้อารมณ์ขันบ้างอาจได้ผลดีเพราะเปลี่ยนบรรยากาศที่เคร่งเครียดให้เป็นบรรยากาศที่ผ่อนคลาย ทำให้ผู้รับสารเปลี่ยนสภาพอารมณ์จากการต่อต้านมาเป็นความรู้สึกกลางๆ พร้อมที่จะคล้อยตามได้. เร้าให้เกิดอารมณ์อย่างแรงกล้า เมื่อมนุษย์เกิดอารมณ์ขึ้นอย่างแรงกล้า ไม่ว่าดีใจ เสียใจ โกรธแค้น วิตกกังวล หวาดกลัว หรือพะว้าพะวัง อารมณ์เหล่านี้มักทำให้มนุษย์ไม่ใช้เหตุผลอย่างถี่ถ้วน ขาดความพินิจพิจารณาถึงความถูกต้อง ความเหมาะ ความควร ขาดสติหลงลืมตัวไปชั่วคราว เป็นเหตุให้คล้อยตามผู้โน้มน้าวใจได้ง่าย

๔. ภาษาที่โน้มน้าวใจ
        ภาษาที่โน้มน้าวใจต้องไม่เป็นการบังคับ ควรเป็นไปในเชิงเสนอแนะ ขอร้อง เร้าใจ รู้จักใช้คำสื่อความหมายได้ตรงตามความต้องการ ควรมีจังหวะและความนุ่มนวล อาจใช้ถ้อยคำสั้นๆ กระชับ ชัดเจน อาจมีคำคล้องจองกัน เช่น คำขวัญ

ตัวอย่างคำขวัญ
- มีหนังสือเหมือนมีมิตร ช่วยชูจิตให้ผ่องใส
- หนังสือคือประทีปส่องทาง ให้ความสว่างสร้างปัญญา
- มีป่าบำรุงดี เหมือนมีกัลปพฤกษ์สี่มุมเมือง
- อากาศปลอดพิษ ชีวิตปลอดภัย
- รถราจะไม่ติดขัด ถ้าเราปฏิบัติตามกฎจราจร
- น้ำมันแพงนัก ช่วยกันพร้อมพลั่ก ประหยัดเชื้อเพลิง
- บ้านเมืองสะอาด เพราะชนในชาติช่วยกันรักษา
- บ้านเมืองสะอาด เป็นเครื่องประกาศว่าคนเจริญ
- ใส่ใจลูกสักนิด ลูกจะไม่ติดยา
- ยาเสพย์ติดเป็นพิษแก่ตน กลายเป็นคนสิ้นคิด ชีวิตต้องอับปาง

๕. การพิจารณาสารโน้มน้าวใจในลักษณะต่างๆ
        ในการพิจารณาวิเคราะห์สารโน้มน้าวใจ สิ่งแรกที่ควรพิจารณา คือ การจับเจตนาของผู้ส่งสารว่ามีจุดมุ่งหมายจะให้เกิดประโยชน์แก่ผู้ที่ตนโน้มน้าว หรือเกิดประโยชน์แก่ส่วนรวมว่ามีหรือไม่

ลักษณะของสารโน้มน้าวใจ
สารโน้มน้าวใจที่พบเสมอมี ๓ ชนิด ดังนี้
 คำเชิญชวน เป็นการแนะนำให้ช่วยกันกระทำการอย่างใดอย่างหนึ่ง เพื่อให้เกิดประโยชน์แก่ส่วนรวม โดยจะปรากฏต่อสาธารณชนในรูปแบบของใบประกาศ แผ่นปลิว โปสเตอร์ หรืออาจจะเป็นการบอกกล่าวด้วยวาจา ทางเครื่องขยายเสียงทางวิทยุหรือโทรทัศน์ ผู้ส่งสารจะบ่งบอกจุดประสงค์อย่างชัดเจน และชี้ให้เห็นประโยชน์รวมทั้งบอกวิธีปฏิบัติด้วย โดยใช้กลวิธีชี้ให้ผู้ถูกโน้มน้าวใจเกิดความภูมิใจว่าถ้าปฏิบัติตามคำเชิญชวนจะเป็นผู้ทำประโยชน์แก่ส่วนรวม และเป็นที่ยอมรับอย่างมีเกียรติในสังคม. โฆษณาสินค้าหรือโฆษณาบริการ เป็นการส่งสารโน้มน้าวใจต่อสาธารณชนเพื่อ
ประโยชน์ในการขายสินค้าหรือบริการต่างๆ แก่สาธารณชนเหล่านั้น มีลักษณะดังนี้

๒.๑ ใช้ถ้อยคำแปลกใหม่ สะดุดหู สะดุดตา สะดุดใจ ผู้รับสารเป็นสำคัญ อาจเป็นคำ สัมผัสอักษร คำเลียนเสียงธรรมชาติ หรือคำที่สร้างขึ้นโดยไม่สมเหตุสมผลมุ่งเพียงความแปลกใหม่
๒.๒ ใช้ประโยคหรือวลีสั้นๆ ที่ทำให้ผู้อื่นรับสารได้อย่างฉับพลัน แต่ฉาบฉวย
๒.๓ เนื้อหาจะชี้ให้เห็นถึงคุณภาพอันดีเลิศของสินค้าหรือบริการที่นำเสนอ มักใช้คำเกินความเป็นจริง
๒.๔ ใช้กลวิธีโน้มน้าวใจโดยชี้ให้เห็นว่า สินค้าหรือบริการที่นำเสนอนั้นเป็นสิ่งที่สนองความต้องการขั้นพื้นฐานของมนุษย์
๒.๕ เนื้อหาของสารโฆษณามักขาดเหตุผลที่หนักแน่นและรัดกุม ขาดความถูกต้องในทางวิชาการ
๒.๖ การนำเสนอสารใช้วิธีการโฆษณาทางสื่อชนิดต่างๆ ซ้ำๆ กันหลายครั้งหลายวันเป็น
ระยะเวลาพอสมควรก็จะดัดแปลงสารนั้นใหม่เพื่อเรียกร้องความสนใจ

สารที่สร้างความจรรโลงใจ
สารที่จรรโลงใจ คือ สารที่สื่อออกมาแล้วผู้รับสารเกิดความสุขใจ  พอใจ  อาจได้จากบทเพลง บทประพันธ์ บทละคร บทความบางชนิด คำปราศรัย สุนทรพจน์ ฯลฯ เมื่อผู้ฟังได้ฟังแล้วจะเกิดความรู้สึกผ่อนคลาย เกิดจินตนาการ มองเห็นแล้วเกิดความซาบซึ้ง สารที่จรรโลงใจ อาจยกระดับจิตใจของมนุษย์ให้สูงขึ้น มีวิธีพิจารณาดังต่อไปนี้
ฟังด้วยความตั้งใจ ขณะเดียวกันก็ทำใจให้สบายอย่าให้เกิดความเคร่งเครียด
ทำความเข้าใจเนื้อหาสำคัญ และควรใช้จินตนาการให้ตรงตามจุดประสงค์ของสาร
พิจารณาว่าสารนั้นจรรโลงใจในแง่ใด อย่างไร เพียงใด สมเหตุสมผลหรือไม่
พิจารณาภาษาที่ใช้ว่าเหมาะสมกับรูปแบบ เนื้อหา และผู้รับสารหรือไม่ เพียงใด
สารที่จรรโลงใจ อาจได้จากบทเพลง บทประพันธ์ บทละคร บทความบางชนิด คำปราศรัย สุนทรพจน์ ฯลฯ เมื่อผู้ฟังได้ฟังแล้วจะเกิดความรู้สึกผ่อนคลาย เกิดจินตนาการ มองเห็นแล้วเกิดความซาบซึ้ง สารที่จรรโลงใจ อาจยกระดับจิตใจของมนุษย์ให้สูงขึ้น มีวิธีพิจารณาดังต่อไปนี้

ฟังด้วยความตั้งใจ ขณะเดียวกันก็ทำใจให้สบายอย่าให้เกิดความเคร่งเครียด
ทำความเข้าใจเนื้อหาสำคัญ และควรใช้จินตนาการให้ตรงตามจุดประสงค์ของสาร
พิจารณาว่าสารนั้นจรรโลงใจในแง่ใด อย่างไร เพียงใด สมเหตุสมผลหรือไม่
พิจารณาภาษาที่ใช้ว่าเหมาะสมกับรูปแบบ เนื้อหา และผู้รับสารหรือไม่ เพียงใด

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น