รายงาน
เรื่อง วิชา
ทักษะภาษาไทยเพื่ออาชีพ
รหัส วิชา ๓ooo-๑๑o๑
หน่วยที่ ๒. การพูดในงานอาชีพ และโอกาสต่างๆ
การพูดในหน้าที่พิธีกร
พิธีกร (Master of Ceremony: MC)
คือ ผู้ดำเนินการในพิธีต่าง ๆ
เป็นบุคคลที่ทำหน้าที่ กำกับ / นำ / อำนวยการ ให้กิจกรรม รายการหรือ พิธีการต่าง ๆ
ดำเนินการไปให้แล้วเสร็จ เรียบร้อยตามวัตถุประสงค์และกำหนดการที่วางไว้
หน้าที่ของพิธีกร
๑. เป็นผู้ให้ข้อมูลแก่ผู้ฟัง / ผู้ชม /
ผู้เข้าร่วมพิธี โดยอย่างน้อยจะต้องมี ขบวนการดังต่อไปนี้ เช่น ตามลำดับ
ในแต่ละกิจกรรม
๑.
แจ้งกำหนดการ
๒.
แจ้งรายละเอียดของรายการ
๓.
แนะนำผู้พูด ผู้แสดง
๔. ผู้ดำเนินการอภิปรายและอื่น ๆ
๒. เป็นผู้เริ่มกิจกรรม / งาน / พิธี / รายการ
เช่น
๑.
กล่าวทักทาย ต้อนรับเชิญเข้าสู่งาน
๒.
เชิญเข้าสู่พิธี ดำเนินรายการต่าง ๆ แล้วแต่กิจกรรม
๒.
เชิญ เปิดงาน – ปิดงาน
๓. เป็นผู้เชื่อมโยงกิจกรรม / งาน / พิธี /
รายการต่าง ๆ เช่น
๑.
กล่าวเชื่อมโยงเหตุการณ์ตามลำดับ
๒.
แจ้งให้ทราบเมื่อมีการเปลี่ยนแปลงกำหนดการ
๓.
แจ้งขอความร่วมมือ
๔.
กล่าวเชื่อมโยงรายการให้ชวนติดตาม
๕.
เป็นผู้ส่งเสริมจุดเด่นให้งานหรือกิจกรรมและบุคคลสำคัญในงานพิธี /
รายการโดยพิธีกรจะต้องเป็นผู้ทำหน้าที่ในวาระที่เหมาะสม เช่น
๖.
กล่าวยกย่องสรรเสริญ ชื่นชมบุคคลสำคัญที่เกี่ยวข้องในพิธี
๗.
กล่าวถึงจุดเด่นของงานพิธีนั้น ๆ
๘.
กล่าวแจ้งผลรางวัลและการมอบรางวัล
๔. เป็นผู้ที่สร้างสีสัน บรรยากาศของงาน / พิธี
/ รายการ เช่น
๑. ให้ข้อมูลที่น่าสนใจเพิ่มเติมเป็นระยะ
๒.
มีมุขขำขึ้นเป็นระยะ ๆ
๕. เป็นผู้เสริมสร้างความสมานฉันท์ในงาน /
กลุ่มผู้ร่วมงาน เช่น
๑.
กล่าวละลายพฤติกรรม
๒.
กล่าวจูงใจให้รักสามัคคี
๖.
เป็นผู้เติมช่องว่างและแก้ปัญหาเฉพาะหน้าในงานพิธีต่าง ๆ เช่น
๑.
กล่าวชี้แจงกรณีบุคคลสำคัญไม่สามารถมาช่วยงานพิธีต่าง ๆ ได้
๒.
กล่าวทำความเข้าใจกรณีต้องเปลี่ยนแปลงกำหนดการ
พิธีกร
คือ
บุคลากรที่จะต้องพูดโดยใช้ความสามารถเฉพาะตนจากการฝึกฝนและศึกษาเท่านั้น
ไม่ใช้สักแต่จะพูดอย่างเดียวไม่
มีความรู้ความเข้าใจในกิจกรรมที่จะต้องรับผิดชอบในด้านการพูดในตำแหน่งพิธีกร
ฉะนั้น จะต้องมีการเตรียมตัวเตรียมใจก่อนจะเป็นการเริ่มต้นที่จะทำหน้าที่ในการเป็นพิธีกรในกิจกรรมต่าง
ๆ พิธีกรหรือโฆษก อาจจะเป็นบุคคลคนเดียวกันในกิจกรรมนั้น ๆ
สร้างความเข้าใจในข้อมูล ต่อเหตุการณ์ต่าง ๆ ต่อกิจกรรมต่าง ๆ ของข้อเท็จจริง
ให้ทัศนะ ในโอกาสที่จะต้องปฏิบัติในแต่ละสถานการณ์ ในแต่ละกิจกรรม พิธีกร
จะถูกกล่าวถึงมากในกรณีที่เป็นทางการ
ส่วนโฆษกจะเป็นคำที่เรียกใช้ในส่วนที่ก่อนถึงเวลาดำเนินกิจกรรมต่าง ๆ
หรือบางครั้งในท้องถิ่นชนบทจะเรียกรวมกันเช่น
“ โฆษกพิธีกร ดำเนินการ ต่อไป ” ไม่ว่าจะเรียกว่าพิธีกรหรือโฆษกในกิจกรรมนั้น
ๆ จะต้องเป็นการพูดคุยในที่ชุมชน นั่นคือต่อคนส่วนมากทุกครั้งเป็นการพูดในที่ชุมชน
ซึ่งมีผู้เข้าร่วมจำนวนมาก หากพูดผิดก็จะทำให้เสื่อมเสียแก่ตนเองและองค์กร
และถ้าหากทำดีพูดดีก็จะมีสง่าราศีแก่ตนเองเช่นกัน ดังสุภาษิต ของสุนทรภู่ที่ว่า
“ ถึงบางพูดพูดดีเป็นศรีศักดิ์ มีคนรักรสถ้อยอร่อยจิต
แม้พูดชั่วตัวตายทำลายมิตร จะชอบผิดอยู่ที่พูดให้ถูกทาง ”
ฉะนั้น คนที่เป็นพิธีกรที่ดี
มีความสามารถจะต้องมีการฝึกฝนเรียนรู้ในหลักการ กลยุทธ์ในการพูดคุยต่าง ๆ ดังนี้
เช่น
• เตรียมพร้อม
• ซ้อมดี
• ท่าทีสง่า
• หน้าตาสุขุม
• ทักที่ประชุมอย่าวกวน
• เริ่มต้นให้โน้มน้าว
• เรื่องราวให้กระชับ
• จับตาที่ผู้ฟัง
• เสียงดังให้พอดี
• อย่าให้มีอ้ออ้า
•
ยิ้มแย้มแจ่มใสตลอดเวลา
บุคคลที่จะทำหน้าที่ดังกล่าวจะต้องมีการเตรียมความพร้อมและเตรียมตัวในการทำหน้าที่
จะมี ๒ กลุ่มคือ
๑. รู้ตัวก่อนและจะต้องเตรียมตัว
๒. ไม่รู้มาก่อน จะต้องไปใช้ปฏิภาณ
ไหวพริบทุกคนทำได้
การเตรียมตัวในการทำหน้าที่พิธีกร
หรือโฆษก ผู้ประกาศ
พิธีกรหรือโฆษก
จะต้องมีการเตรียมตัวในการทำหน้าที่ ดังนี้
๑. ศึกษาข้อมูล / วิเคราะห์สถานการณ์ ผู้นำ ผู้ชม
โอกาส วัตถุประสงค์ของงานพิธี รายการที่กำหนดไว้
เพื่อทราบความมุ่งหมายของการทำหน้าที่
๒. เตรียมเนื้อหาและคำพูด
เริ่มต้นอย่างไร ?
มุขตลก ขำขัน แทรกอย่างไร คำคม ลูกเล่น จุดเด่นที่ควรกล่าวถึง
ต้องเตรียมค้นคว้าศึกษาจากศูนย์ข้อมูลมาให้พร้อม
๓. ตรวจสอบความเหมาะสม
ของบทความที่เตรียมมาว่าเหมาะสมกับเวลาหรือไม่
๔.
ต้องมีการฝึกซ้อมไม่ว่าจะซ้อมหลอกหรือซ้อมจริง ต้องมีการฝึกซ้อม
๕. ศึกษาสถานที่จัดงานหรือพิธีที่กำหนดไว้ล่วงหน้า
๖. เตรียมเสื้อผ้าและชุดการแต่งกาย
อย่างเหมาะสมกับกิจกรรม พร้อมดูแลตั้งแต่ หัวจรดเท้า
ข้อควรปฏิบัติในการทำหน้าที่พิธีกร
หรือโฆษก
ข้อควรปฏิบัติในการทำหน้าที่ของพิธีกรหรือโฆษก
มีดังนี้
• ทำจิตให้แจ่มใส
• ไปถึงก่อนเวลา
• อุ่นเครื่องแก้ประหม่า
• ทำหน้าที่สุดฝีมือ
• เลื่องลือผลงาน
ข้อพึงระวัง
สำหรับการทำหน้าที่เป็นพิธีกร
• ต้องดูดีมีบุคลิก
• ต้องรักษาเวลาอย่างเคร่งเครียด
• ต้องแสดงออกอย่างสุภาพและให้เกียรติ
ร่าเริงแจ่มใส ให้ความเป็นกันเอง
• ต้องมีการประสานงานด้านข้อมูล
และพร้อมเผชิญปัญหาโดยไม่หงุดหงิด
• ต้องใช้ภาษาให้ถูกต้องชัดเจนให้ชวนฟัง
น่าติดตาม
• ต้องเสริมจุดเด่นของคนอื่นไม่ใช่ของตนเอง
• สร้างความประทับใจ ด้านสุภาษิต
หรือคำคม
คุณสมบัติของพิธีกร
๑)
ต้องได้รับการฝึกพูดมาแล้วพอสมควร
๒)
มีความรอบรู้ระเบียบวิธีการพูดในที่ชุมนุมชน
๓)
เป็นที่เชื่อถือของบุคคลทั่วไป
๔)
เป็นผู้ยอมรับฟังความคิดเห็นของบุคคลอื่น
๕)
ไม่มีอคติ
๖)
มีมารยาทดีมีความอ่อนน้อมไม่ลุอำนาจต่อโทสะ
๗)
มีความอดทน รู้จักอดกลั้นต่อความรู้สึกต่างๆ
๘)
มีปฏิภาณดี สามารถแก้ไขปัญหาต่างๆ ได้อย่างถูกต้องและรวดเร็ว
หน้าที่ของพิธีกร
พิธีกรมีหน้าที่คล้ายคลึงกับโฆษก
ต่างกันที่ว่า
หน้าที่พิธีกรนั้นใช้ในงานที่เป็นพิธีการที่มีผู้รับเชิญให้มาพูดมากกว่า ๑ คนขึ้น
พิธีกรมีหน้าที่สำคัญดังต่อไปนี้
๑)
วางแผนการพูดแต่ละครั้ง
๒)
แนะนำกลุ่ม
๓)
เชิญผู้พูดแต่ละท่านให้ขึ้นมาพูดตามลำดับ
๔)
จัดระเบียบวาระของการพูดแต่ละครั้งให้เหมาะสมตามสมควรแต่โอกาส
การพูดบรรยายสรุป
การบรรยายสรุป ภาษาอังกฤษใช้คำว่า brief หรือ briefing
เป็นรูปแบบหนึ่งของการสื่อสาร ในลักษณะที่เป็นการชี้แจงในเรื่องใดเรื่องหนึ่งที่มีความยาวหรือละเอียดมากและมีความสลับซับซ้อนให้สั้นลงและกระชับขึ้น
แต่ยังคงครอบคลุมและมีความสมบูรณ์ของเนื้อหาสาระ
วิรัช ลภิรัตนกุล (๒๕๔๓, หน้า ๒0๘) กล่าวว่า
การบรรยายสรุปเป็นการอธิบายให้ข้อมูลข่าวสารแก่ผู้รับสาร ก่อนที่จะมีบางสิ่งบางอย่างเกิดขึ้น
ก่อนที่จะมีบางสิ่งบางอย่างเกิดขึ้นนั้นหมายความว่า ก่อนที่จะมีกิจกรรมอื่น ๆ
ต่อไป นั่นเอง เช่น ในการเยี่ยมชมโรงงานแห่งหนึ่งของคณะสื่อมวลชน
ก็จะมีการบรรยายสรุปให้แก่คณะสื่อมวลชนผู้เข้าเยี่ยมชม ก่อนที่จะนำชมโรงงาน
เป็นต้น
ลักษณา สตะเวทิน (๒๕๓๖, หน้า ๒๖๑)
กล่าวว่า การบรรยายสรุป คือ
กระบวนการในการตระเตรียมเรื่องราวที่ยืดยาวและมีความสลับซับซ้อน
โดยการจัดเรียบเรียงข้อเท็จจริงให้ดีที่สุด สั้นและกระชับ
ใช้ภาษาที่เข้าใจง่ายและให้ประสิทธิภาพในการสื่อสาร
ประเภทของการบรรยายสรุป
การบรรยายสรุปเริ่มใช้กันในวงการทหาร
(วิรัช ลภิรัตนกุล,
๒๕๔๓, หน้า ๒0๘) การบรรยายสรุปทางทหาร มีอยู่ ๕ ประเภท คือ
๑. การบรรยายสรุปเพื่อให้ข้อมูลข่าวสาร (Information
Brief)
คือ
การบรรยายสรุปที่มีความมุ่งหมายเพื่อเสนอข้อเท็จจริงให้แก่ผู้อ่านและผู้ฟังเนื้เพื่อให้ผู้รับสารทราบสถานการณ์ปัจจุบันหรือข้อมูลข่าวสารจากผู้บรรยายสรุป
การบรรยายสรุปประเภทนี้จึงไม่ต้องการการตัดสินใจใด ๆ
แต่จะเป็นการแถลงและรายงานให้ทราบเท่านั้น อย่างไรก็ตาม
การบรรยายสรุปแบบนี้จะเป็นส่วนสำคัญส่วนหนึ่งของการบรรยายสรุปแบบอื่น ๆ
๒. การบรรยายสรุปเพื่อการตัดสินใจ (Decision
Brief)
เป็นการบรรยายสรุป
เพื่อหามติหรือข้อสรุปอย่างใดอย่างหนึ่งจากการตัดสินใจหลังจบการบรรยายสรุป
การบรรยายสรุปประเภทนี้จึงต้องเริ่มจากการบรรยายสรุปเพื่อให้ข้อมูลข่าวสารในแบบแรกขึ้นมาก่อน
ผู้รับสารจึงจะมีข้อมูลเพียงพอที่จะนำไปสู่การตัดสินใจ
การบรรยายสรุปแบบนี้จะต้องใช้การบรรยายสรุปที่ค่อนข้างจะละเอียดถี่ถ้วน
เพราะการบรรยายสรุปแบบนี้จะมีลักษณะของการแสวงหาคำตอบจากปัญหาที่ยกขึ้นมา
เพื่อหาข้อตกลงใจ หรือหาหนทางปฏิบัติที่น่าจะเป็นไปได้
ดังนั้นในการบรรยายสรุปประเภทนี้ ในเบื้องแรกจึงต้องชี้แจงให้ผู้รับสารทราบอย่างชัดเจนก่อนว่าต้องการค้นหาข้อตกลงใจหลังจากการบรรยายสรุปจบลง
เพื่อให้ผู้อ่านหรือผู้ฟังสารที่บรรยายสรุปได้ใช้ความรอบคอบระมัดระวังในการพิจารณาสารจากการบรรยายสรุป
จะได้นำมาใช้ประกอบการตัดสินใจและแสดงความคิดเห็นได้อย่างถูกต้อง
๓. การบรรยายสรุปเพื่อการดำเนินงานของคณะทำงาน (Staff
Brief)
เป็นการบรรยายสรุปที่ใช้กันอย่างกว้างขวาง
โดยเฉพาะในวงการทหาร คือ
จะเป็นการบรรยายสรุปเพื่อความรวดเร็วในการแลกเปลี่ยนข้อมูลข่าวสาร
การบรรยายสรุปแบบนี้มีลักษณะคล้ายกับ information brief และยังคล้ายคลึงกับ dicision
brief เพื่อจะนำไปเสนอผู้บังคับบัญชาตัดสินใจ
การบรรยายสรุปแบบนี้จะต้องใช้ในหน่วยงาน องค์กร และสถาบันเกือบทุกระดับ
เพื่อให้ผู้บังคับบัญชาและผู้ใต้บังคับบัญชาได้รับทราบข่าวสารและสถานการณ์ปัจจุบันร่วมกัน
ผลที่ต้องการจากการบรรยายสรุปแบบนี้ คือ การประสานงานและเพื่อร่วมกันปฏิบัติงานให้มีเอกภาพในการบังคับบัญชาเป็นส่วนรวม
๔.
การบรรยายสรุปเพื่อให้นโยบาย (Mission Brief)
เป็นการบรรยายสรุปที่เกิดขึ้น
เพื่อผสมผสานความมุ่งหมายต่าง ๆ ที่จะต้องปฏิบัติร่วมกัน เช่น
การบรรยายสรุปงานก่อนเริ่มดำเนินการ การบรรยายสรุปเพื่อปฏิบัติภารกิจในระดับต่าง ๆ
การบรรยายสรุปแบบนี้มักจะเป็นการบรรยายสรุปสุดท้าย ก่อนการลงมือปฏิบัติงานใด ๆ
ก็ตาม ทั้งนี้เพื่อให้เกิดความมั่นใจว่าผู้มีส่วนร่วมในภารกิจครั้งนั้น
มีความเข้าใจตรงกันแล้ว การ บรรยายสรุปแบบนี้ใกล้เคียงกับ Information Brief
๕. การบรรยายสรุปในการประชุม (Meeting Brief)
การบรรยายสรุปในการประชุม หรือ Meeting Brief ก็คือ
การบรรยายสรุปเพื่อการดำเนินงานของคณะทำงาน (staff brief) และการบรรยายสรุปเพื่อให้นโยบาย
(mission brief) รวมกันนั่นเอง
ประโยชน์ของการบรรยายสรุป
การบรรยายสรุป เป็นการทำเรื่องที่ยากให้เป็นเรื่องง่ายในเวลาที่จำกัด
ทำให้ผู้บริหารไม่ต้องเสียเวลามาอ่านเอกสารที่มีความหนามาก ๆ
ซึ่งท่านจะต้องนำไปพิจารณาต่อ จึงเป็นการประหยัดเวลา
และเป็นเครื่องมือในการประชาสัมพันธ์หน่วยงาน องค์กร และสถาบัน
อย่างไรก็ตามการที่จะได้ประโยชน์จากการบรรยายสรุปสูงสุด
ผู้เขียนบทบรรยายสรุปจะต้องมีความรู้ในเรื่องที่เขียน และมีทักษะในการเขียนที่ดี
นอกจากนี้
การบรรยายสรุปยังมีประโยชน์ในการแจ้งข่าวสาร การหาข้อตกลงใจ
การพิจารณาตรวจสอบแผนและสถานการณ์ การให้ข้อมูลผู้มาเยี่ยมชมหน่วยงาน องค์กร
และสถาบัน การให้ข้อมูลบังคับบัญชา การให้ข้อมูลประธานในที่ประชุม
การบรรยายสรุปเพื่อของบประมาณเพิ่มเติม
การบรรยายสรุปเพื่อโยงไปสู่การเจรจาต่อรองและโยงไปสู่การขอความเห็นชอบ
การเขียนบรรยายสรุปที่ใช้ในงานประชาสัมพันธ์
อาจจะนำไปใช้ในการจัดทำเอกสารที่ให้ความรู้เกี่ยวกับหน่วยงาน องค์กร และสถาบัน
ซึ่งเป็นการประชาสัมพันธ์ให้ทราบถึงภารกิจของหน่วยงาน องค์กร และสถาบันนั้น ๆ
อันก่อให้เกิดความสัมพันธ์อันดีระหว่างหน่วยงาน องค์กร และสถาบันนั้น ๆ กับประชาชน
หรือกับหน่วยงานอื่น ๆ ในปัจจุบันการประชาสัมพันธ์โดยวิธีนี้เป็นที่นิยมกันมาก
ในการให้ความรู้โดยสังเขปแก่กลุ่มต่าง ๆ เช่น ผู้บังคับบัญชา ผู้ใต้บังคับบัญขา
คณะที่มาตรวจงาน และคณะบุคคลที่มาเยี่ยมชมกิจการ เป็นต้น
การพูดประชาสัมพันธ์
หลักการพูดทั่วไป
การพูดเป็นวิชาสื่อสารชนิดหนึ่งที่เป็นทั้งศาสตร์และศิลป์ ต้องการศึกษาและฝึกฝนอย่างจริงจังจนเกิดความชำนาญ
จนสามารถสื่อความหมายให้ผู้อื่นรู้และเข้าใจได้ดี
การพูดมีความจำเป็นต้องใช้เพื่อการประชาสัมพันธ์และเผยแผ่มาก
มีความจำเป็นต่อทุกสาขาอาชีพ
การพูดจะต้องใช้กับสื่อเพื่อการประชาสัมพันธ์เกือบทุกชนิด
เพราะพฤติกรรมของมนุษย์นั้นคุ้นเคยกับการพูดมาโดยตลอด
นับตั้งแต่พ่อแม่ได้เลี้ยงดูมา แล้วสอนให้หัดพูดคำง่ายๆ ว่าพ่อ แม่
จนกระทั่งใช้ภาษาพูดสื่อความหมายกับผู้อื่นได้เป็นปกติธรรมดา
ถึงจะเกิดในชาติใดภาษาใดก็ใช้ภาษานั้นได้อย่างคล่องแคล่ว
ทุกคนสามารถพูดได้อย่างสบาย อย่างนี้เรียกว่าพูดได้อย่างนี้ใครๆ ก็พูดได้
คือพูดได้อาจจะพูดไม่ดีก็ได้ ทุกคนเกิดมาต้องพูดได้ด้วยกันทั้งนั้น
ยกเว้นคนใบ้หรือหูหนวก
แต่ที่สำคัญก็คือ
พูดเป็นได้แก่พูดให้มีประโยชน์ต่อตัวเอง และผู้อื่น
ใครได้ยินได้ฟังก็ชื่นชอบพูดดีมีประสิทธิภาพ
พูดแล้วบรรลุวัตถุประสงค์ที่ตนเองคิดไว้ คือพูดแล้วผู้ที่ฟังเห็นคล้อยตามเกิดความฉุกคิดสะกิดสะดุด
จุดประกายความคิดขึ้นในมโนภาพของผู้ฟัง สามารถจูงใจดลใจให้เห็นคล้อยตามด้วยการพูด
จึงเป็นเรื่องที่ต้องมีการเรียนรู้หลักการพูดมีการฝึกฝนตนพยายามปรับปรุงการพูดอยู่เสมอๆ
ความรู้ในการใช้ปากถือเป็นศาสตร์และศิลป์ที่มีความสำคัญมากกว่าที่ทุกๆ
ศาสตร์ หมายความว่า มนุษย์จะดีจะชั่วประกอบกิจการงานใดๆ
ให้สำเร็จลุล่วงด้วยดีได้นั้นต้องอาศัยการพูดจาสื่อสาร
เพราะคนเราจะมีความรู้มากมายอย่างไร
ถ้าไม่รู้จักถ่ายทอดความรู้ออกมาให้คนอื่นเขารับรู้ด้วยก็ไม่มีประโยชน์
จะเห็นได้จากนักวิชาการและครูหลายคน ไม่ประสบผลสำเร็จในการสอน
คือสอนไม่ดีทั้งที่มีความรู้จบปริญญาดอกเตอร์ มากมายหลายสาขาก็เปล่าประโยชน์
ในทำนองเดียวกันนี้ พระสงฆ์ในพระพุทธศาสตร์
ซึ่งมีหน้าที่โดยตรงต้องพูดคือเผยแผ่ธรรมะให้แก่ประชาชน
จำนวนสามแสนกว่ารูปนี้ก็มีไม่กี่รูปที่ใช้วิชาการพูดให้เป็นประโยชน์ต่อประชาชน
บางท่านถือว่ามิใช่หน้าที่ของพระที่จะเป็นนักพูดเป็นนักแสดงธรรมจึงไม่มีการฝึกฝนอบรมเป็นนักเทศน์
เป็นนักพูดอย่างจริงจังเพียงเรียนหนังสือ นักธรรม บาลี แล้วก็หยุด
ทำหน้าที่คือประกอบพิธีกรรมสวดมนต์ หรือจะพูดบ้างก็เป็นไปเพื่อประโยชน์ส่วนตัว
พระสงฆ์กลุ่มนี้ยังไม่ชอบพระนักพูดพระนักเทศน์อีกด้วยซ้ำไป
การที่พระพุทธองค์ทรงเผยแผ่พระพุทธศาสนาได้อย่างกว้างขวางมาจนทุกวันนี้พระองค์ก็ทรงเริ่มด้วยการพูดทั้งนั้น
รุ่นแรกๆ ครั้งพุทธกาล และหลังพุทธกาลก็ยังใช้ปากเป็นสื่ออยู่ เรียกว่า มุขปาฐะ
พระธรรมคำสั่งสอนของพระองค์แปดหมื่นสี่พันพระธรรมขันธ์
ก่อนจะจารึกลงในใบลานเป็นตัวหนังสืออย่างทุกวันนี้
พระพุทธสาวกท่านก็จำและถ่ายทอดกันมาด้วยปากเปล่าทั้งนั้น นี้คือความสำคัญของปาก
นักเผยแผ่นักประชาสัมพันธ์จะต้องเป็นสื่อกลางเชื่อมโยงความรู้ความเข้าใจระหว่าง
กลุ่มชน
กับองค์กรหรือกลุ่มประชาชนถึงหน่วยงานคือพูดแล้วสามารถสร้างภาพให้คนเข้าใจหน่วยงานที่ตนทำหน้าที่ประชาสัมพันธ์อยู่การประชาสัมพันธ์ระดับประเทศชาติ
ก็ต้องพูดให้เกิดภาพลักษณ์ที่ดีแก่ประเทศชาติ ก่อนจะลงรายละเอียดในการพูด
ควรทำความเข้าใจคำว่าการพูดตามความหมายที่ถูกต้องเสียก่อน
การพูด
ตามพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. ๒๕๒๕ คือ
พูดเป็นคำกริยาหมายถึงการเปล่งเสียงเป็นถ้อยคำ
เพิ่มการเข้าไปข้างหน้ากิริยาเป็นการพูด โดยใช้เป็นนาม
การพูด
คือกระบวนการสื่อความคิดจากคนหนึ่งไปยังอีกคนหนึ่งหรือกลุ่มหนึ่งโดยมีน้ำเสียงและอากัปกิริยาเป็นสื่อ
การพูด
เป็นสัญลักษณ์แห่งความเข้าใจระหว่างมนุษย์กับมนุษย์
การพูด
คือการแสดงออกถึงอารมณ์และความรู้สึก โดยใช้ภาษาและเสียงสื่อความหมาย
การพูด
คือการใช้ถ้อยคำ น้ำเสียงและกิริยาอาการในการถ่ายทอดความคิด ความรู้สึก
และความต้องการของผู้พูด เพื่อให้ผู้ฟังเกิดการรับรู้และการตอบสนอง
“การพูดเพื่อการประชาสัมพันธ์ คือ
การพูดเพื่อให้ผู้ฟังมีความเข้าใจอันดีต่อองค์กรกิจการ เกิดความเลื่อมใสศรัทธา
และมีทัศนคติที่ดีต่อองค์การกิจการ ตลอดจนการพูดเพื่อแก้ไขความเข้าใจผิดต่างๆ
ให้กลายเป็นความเข้าใจที่ถูกต้อง ตรงกับความเป็นจริง”
นักพูดเพื่อการประชาสัมพันธ์ควรมีคุณสมบัติ
๑.
มีความชำนาญคล่องแคล่วในการสื่อสารด้วยการพูดได้
อย่างมีประสิทธิภาพและมีมนุษยสัมพันธ์อัธยาศัยไมตรีดีกับทุกคน
๒.
มีความรู้อย่างกว้างขวางเกี่ยวกับองค์กรการศึกษา วิธีการ กระบวนการของทุกๆ วิชาการอย่างดี
รวมทั้งสามารถเรียนรู้นิสัย ใจคอของผู้คนและสิ่งแวดล้อมได้เป็นอย่างดี
มีนิสัยเรียนรู้เร็ว มีจิตวิทยาเรียนรู้เป็นพิเศษ
๓. เป็นผู้มีวิสัยทัศน์
สามารถมองปัญหาได้อย่างลึกซึ้งและกว้างขวาง
๔. เป็นผู้มีความรักในการเรียนรู้ กระตือรือร้น
ใฝ่รู้อยู่เป็นนิตย์
และสามารถวัดระดับขั้นตอนกระบวนการเรียนรู้ถ่ายทอดออกมาต่อกลุ่มชนที่เกี่ยวข้องอย่างดี
๕.
เป็นคนซื่อตรงเปิดเผยตรงไปตรงมาในการเสนอข่าวสารที่เป็นประโยชน์แก่ผู้ฟังโดยส่วนรวม
๖.
เป็นผู้ที่สามารถเข้าถึงคนทุกฝ่ายได้เป็นอย่างดี เป็นผู้มีมารยาทดี
มีความเอื้ออารีมีวจีไพเราะสงเคราะห์ผู้คนและวางตนงดงามตลอดเวลา
การพูดเพื่อประชาสัมพันธ์นั้นมีโอกาสจะใช้ได้มากมาย
แต่จะขอสรุปประเด็นเป็นข้อๆ ดังนี้
๑. พูดในฐานะเป็นพิธีกร
เป็นหน้าที่โดยตรงนักประชาสัมพันธ์จะต้องพูดในฐานะเป็นพิเศษในโอกาสต่างๆ
รวมถึงพิธีกรในรายการวิทยุและโทรทัศน์
๒. การกล่าวต้อนรับ
เป็นการสื่อที่มีโอกาสเกิดขึ้นมากมายในสถาบันองค์การต่างๆ
จะมีแขกผู้มีเกียรติมาเยี่ยมมาเยือนทั้งชาวไทยและชาวต่างประเทศจะกล่าวอย่างไรให้ประทับใจผู้มาเยี่ยม
เมื่อเขาจากไปแล้ว เขาก็อยากจะมาอีก นั่นคือวิธีการที่มีศิลปะในการพูด
๓. การบรรยายสรุป
ข้อนี้สำคัญไม่น้อยยิ่งผู้ทำงานอยู่ในหน่วยงานสำคัญมีผู้มาเยี่ยมกิจการของสถาบันฝ่ายประชาสัมพันธ์ก็จะกล่าวบรรยายสรุปให้แขกผู้มีเกียรติฟัง
ทั้งนโยบายวัตถุประสงค์และเป้าหมายของการดำเนินงาน
๔. การพูดในโอกาสพิเศษและการแสดงปาฐกถา
ซึ่งข้อนี้ประชาสัมพันธ์จะต้องแสดงความสามารถให้ปรากฏ
โอกาสนี้ก็มักจะมีบ่อย เช่น ได้ไปร่วมประชุมอภิปรายโต้วาทีในงานต่างๆ
หรือในการสัมมนาที่สำคัญเข้าไปอภิปรายแสดงข้อคิดเห็น กล่าวตอบขอบคุณการกล่าวอำลา
แสดงความยินดีตลอดถึงการบรรยายเรื่องต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับการประชาสัมพันธ์
ตามหลักพระพุทธศาสนาการพูดเพื่อประชาสัมพันธ์
พระพุทธเจ้าทรงมีหลักอยู่ว่าต้องพูดจริงและเป็นประโยชน์
คุณสมบัติ
๖ ประการของนักพูดเพื่อการประชาสัมพันธ์คือ
๑.
กาลวาที พูดถูกกาล
๒.
สัจจวาที พูดความจริง
๓.
ภูตวาที พูดสิ่งที่เป็นจริง
๔.
อัตถวาที พูดสิ่งเป็นประโยชน์
๕.
ธรรมวาที พูดเป็นธรรม
๖.
วินยวาที พูดอย่างมีจรรยาบรรณ คือ
- คำพูดไม่จริง, ไม่ถูกต้อง, ไม่เป็นประโยชน์,
ไม่เป็นที่รักชอบใจของผู้อื่น...ไม่พูด
- คำพูดจริง, ถูกต้อง, แต่ไม่เป็นประโยชน์ไม่เป็นที่รักที่ชอบใจของผู้อื่น...ไม่พูด
- คำพูดจริงถูกต้อง, เป็นประโยชน์, แต่ไม่เป็นที่รักที่ชอบใจของผู้อื่น...เลือกกาลพูด
- คำพูดไม่จริง, ไม่ถูกต้อง, ไม่เป็นประโยชน์
ถึงเป็นที่รักที่ชอบใจของผู้อื่น...ก็ไม่พูด
- คำพูดจริง, ถูกต้อง, แต่ไม่เป็นประโยชน์
ถึงเป็นรักที่ชอบใจของผู้อื่น...ก็ไม่พูด
- คำพูดจริง, ถูกต้อง, เป็นประโยชน์
ถึงเป็นที่รักที่ชอบใจของผู้อื่น...เลือกกาลพูด
นักพูดเพื่อการประชาสัมพันธ์จะต้องพูดสิ่งที่จริงถูกต้องเป็นประโยชน์ทั้งเป็นที่รักที่ชอบใจของผู้อื่นด้วยจึงสัมฤทธิ์ผลอย่างที่ต้องการ
ขออัญเชิญพระราชนิพนธ์ของล้นเกล้ารัชกาลที่ ๖ ในวิวาหสมุทรที่ว่า
ปากเป็นเอก
เลขเป็นโท โบราณว่า
หนังสือตรี
มีปัญญา ไม่เสียหาย
ถึงรู้มาก
ไม่มีปาก ลำบากตาย
มีอุบาย
พูดไม่เป็น เห็นป่วยการ
ถึงเป็นครู
รู้วิชา ปัญญามาก
ไม่รู้จัก
ใช้ปาก ให้จัดจ้าน
เหมือนเต่ายัง
นั่งซื่อ อื้อรำคาญ
วิชาชาญ
มากเปล่า ไม่เข้าที
ดังนั้น การประชาสัมพันธ์จึงต้องกระทำอย่างมีแผนการ
มีกระบวนการที่แน่นอนต่อกลุ่มเป้าหมายอย่างต่อเนื่อง
ถ้าบุคคลทางพระพุทธศาสนาจะนำมาใช้เพื่อการเผยแผ่ในภาวะที่โลกก้าวเข้าสู่ยุค IT ใช้สื่อมวลชนเพื่อการเผยแผ่
คือการประชาสัมพันธ์เพื่อการเผยแผ่พระพุทธศาสนา ก็จะเกิดเป็นประโยชน์ต่อประชาชนยิ่งใหญ่ไพศาลไม่เพียงแต่ชาวพุทธในประเทศไทยเท่านั้น
แม้ชาวโลกก็จะได้รับความสันติสุขโดยทั่วกัน โลกจะมีแต่ความร่มเย็น
เพราะเราบำบัดด้วยพุทธธรรมในพระพุทธศาสนา
การพูดโฆษณา
การโฆษณาหมายถึง การให้ข้อมูล ข่าวสาร
เป็นการสื่อสารจูงใจผ่านสื่อโฆษณาประเภทต่าง ๆ
เพื่อจูงใจหรือโน้มน้าวใจให้กลุ่มผู้บริโภคเป้าหมาย
มีพฤติกรรมคล้อยตามเนื้อหาสารที่โฆษณา
อันเอื้ออำนวยให้มีการซื้อหรือใช้สินค้าและบริการ ตลอดจนชักนำให้ปฏิบัติตามแนวความคิดต่าง ๆ
ทั้งนี้ขอให้ผู้โฆษณาหรือผู้อุปถัมภ์จะต้องเสียค่าใช้จ่ายในการสื่อนั้น ๆ
ลักษณะของการโฆษณา
๑. การโฆษณาเป็นการสื่อสารจูงใจ
มีวัตถุประสงค์เพื่อการจูงใจให้เกิดพฤติกรรมการซื้อโดยวิธีการพูด การเขียนหรือการสื่อความหมายใด ๆ ที่มีผลให้ผู้บริโภคเป้าหมาย คิดคล้อยตาม กระทำตามหรือเปลี่ยนแปลง
พฤติกรรมไปตามที่ผู้โฆษณาต้องการ
๒. การโฆษณาเป็นการจูงใจด้วยเหตุผลจริงและเหตุผลสมมติ หมายถึง การจูงใจโดยบอกคุณสมบัติที่
เป็นประโยชน์ของผลิตภัณฑ์
และการจูงใจโดยใช้หลักการตอบสนองความต้องการด้านจิตวิทยา
๓. การโฆษณาเป็นการนำเสนอ
สื่อสารผ่านสื่อมวลชนประเภทต่าง ๆ
ซึ่งสามารถเผยแพร่ข่าวสาร เกี่ยวกับสินค้าและบริการในระยะกว้างไกลได้สะดวก
รวดเร็วที่สุด ไปสู่กลุ่มเป้าหมาย อย่างกว้างขวาง ไปสู่มวลชนอย่างรวดเร็ว
เข้าถึงพร้อมกันและทั่วถึง
๔. การโฆษณาเป็นการเสนอขายความคิด สินค้า
และบริการ
โดยใช้วิธีการจูงใจให้ผู้บริโภค เกิดความพอใจเกิดทัศนคติที่ดี อันจะนำไปสู่การเปลี่ยนแปลงในการซื้อสินค้า
หรือบริการที่เสนอขาย
๕. การโฆษณาต้องระบุผู้สนับสนุนหรือตัวผู้โฆษณา ซึ่งมีผลความเชื่อถือของผู้บริโภค
ของผู้บริโภค
สร้างความเชื่อมั่นและแสดงให้เห็นว่า เป็นการโฆษณาสินค้า(advertising)มิใช่
เป็นการโฆษณาชวนเชื่อ (propaganda)
๖. การโฆษณาต้องจ่ายค่าตอบแทนในการโฆษณาในสื่อต่าง
ๆ เช่น
วิทยุกระจายเสียง
วิทยุโทรทัศน์ หนังสือพิมพ์ วารสารและนิตยสาร เป็นต้น
ดังนั้นผู้โฆษณาจะต้องมีงบประมาณ เพื่อการโฆษณาสินค้าหรือบริการต่าง ๆ ด้วย
การการกล่าวปราศรัย
คำปราศรัยมีลักษณะคล้ายคลึงกับสุนทรพจน์ในด้านภาษา
เนื้อหา และทัศนคติของผู้กล่าว ซึ่งสามารถจะนำไปปฏิบัติได้
คำปราศรัยที่เป็นการพูดที่เป็นพิธีการ ดังนั้น
จึงจำเป็นที่จะต้องมีการเตรียมมาก่อนเป็นอย่างดีคำปราศรัยอาจแบ่งได้เป็นประเภทต่างๆ
ดังนี้
๑) คำปราศรัยของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ เรียกว่า กระแสพระราชดำรัส หรือพระราชดำรัส
เช่น กระแสพระราชดำรัสแก่ประชาชนชาวไทยเนื่องในวันขึ้นปีใหม่ เป็นต้น
๒) คำปราศรัยในโอกาสครบรอบปี เช่น
คำปราศรัยเนื่องในวันเด็ก เนื่องในวันกาชาดสากล เนื่องในวันกรรมกรสากล
เนื่องในวันขึ้นปีใหม่ เป็นต้น
๓) คำปราศรัยในงานพิธีต่างๆ ซึ่งเรียกว่า
คำกล่าวเปิด…ถ้าเป็นงานที่เป็นพิธีการเรียกว่า "คำปราศรัย" เช่น
คำปราศรัยของ ฯพณฯ นายกรัฐมนตรี ในการเปิดอบรมกำนันผู้ใหญ่บ้านทั่วราชอาณาจักร
เป็นต้น
๔) คำปราศรัยเกี่ยวกับนโยบายหรือเรื่องอื่นๆ
เช่น คำปราศรัยเกี่ยวกับนโยบายการบริหารประเทศ คำปราศรัยเกี่ยวกับการพัฒนาประเทศ
เป็นต้น
๕)
คำปราศรัยซึ่งแสดงความสัมพันธ์ระหว่างผู้ใหญ่กับผู้น้อย เช่น คำปราศรัยฯพณฯ
หัวหน้าคณะปฏิวัติต่อเยาวชนไทย เป็นต้น
การกล่าวแสดงความยินดี
ในบางโอกาสผู้ที่เราพบปะหรือคุ้นเคยอาจจะประสบโชคดี
มีความสมหวังหรือ
มีความเจริญก้าวหน้าในชีวิตและการงานเราควรจะต้องพูดแสดงความยินดีเพื่อร่วมชื่นชม
ในความสำเร็จนั้น
๑.๑ วิธีการ
๑) ใช้คำพูดให้ถูกต้องเหมาะสม
๒) ใช้น้ำเสียง ท่าทาง สุภาพ
นุ่มนวล ใบหน้ายิ้มแย้มแจ่มใส
๓) พูดช้า ๆ ชัดถ้อยชัดคำ
พูดสั้น ๆ ให้ได้ใจความและประทับใจ
๑.๒ ตัวอย่าง
“ขอแสดงความยินดีกับคุณที่ได้รับความไว้วางใจจากชาวบ้านในหมู่บ้านของเรา
เลือกคุณด้วยคะแนนเสียงท่วมท้นมาก ขอให้คุณเป็นผู้นำของพวกเรานาน ๆ สร้างความ
เจริญแก่ชุมชนของพวกเราตลอดไปนะครับผมดีใจด้วยและขอสนับสนุนอย่างเต็มกำลัง
ความสามารถเลยครับ”
ตัวอย่าง
คำกล่าวอวยพรวันคล้ายวันเกิด
สวัสดีครับ ท่านผู้มีเกียรติทุกท่าน ก่อนอื่นกระผมขอขอบคุณทุกท่านที่ให้เกียรติมาร่วมงาน
วันคล้ายวันเกิดของเพื่อนกระผม
เพื่อนของกระผมคนนี้ชอบพอและสนิทสนมกันมาตั้งแต่สมัยยังเป็นเด็ก ๆ แล้วครับ
ท่านเป็นคนที่มีอัธยาศัยไมตรีและมีมนุษย์สัมพันธ์ดีมากคนหนึ่ง ใจคอกว้างขวาง
โอบเอื้ออารีย์ เป็นที่ยอมรับของเพื่อน ๆ และคนที่รู้จักมักคุ้นโดยทั่วไป
เมื่อมีการจัดงานคล้ายวันเกิดของเพื่อนคนนี้ในแต่ละครั้ง ถ้าไม่ติดธุระจำเป็นจริง
ๆ แล้วกระผมจะมาร่วมงานด้วยทุกครั้งเช่นกัน
เพื่อนคนนี้
นอกเหนือจากเป็นคนดี
มีอัธยาศัยไมตรีที่ดี เป็นที่น่านับถือของเพื่อน ๆ และคนอื่น ๆ แล้ว
ยังเป็นหัวหน้าครอบครัวที่ดี เป็นร่มโพธิ์ร่มไทรแก่บุตรหลานของท่านอีกด้วย
ในโอกาสนี้
กระผมขออวยพรให้เพื่อนรักของกระผมคนนี้ จงมีอายุมั่นขวัญยืน มีความสุขความเจริญ
อีกทั้งเจริญก้าวหน้า ทั้งในหน้าที่ราชการและงานส่วนตัวยิ่ง ๆ ขึ้นไป
คำกล่าวในงานมงคลสมรส
เรียนท่านประธาน และแขกผู้มีเกียรติทุกท่าน
กระผมรู้สึกเป็นเกียรติและปลื้มปิติยินดีเป็นอย่างยิ่ง
ที่ได้รับเชิญให้มาเป็นประธานในงานมงคลสมรสในครั้งนี้ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง กระผมมีความสนิทสนมกับเจ้าบ่าว ท่านนี้เป็นกรณีพิเศษ
ท่านเป็นคนดี มีน้ำใจ คอยให้ความช่วยเหลือเพื่อน ๆ เวลามีปัญหาเรื่องงาน
จนช่วยเหลือตนเองไม่ได้ก็ได้เพื่อนคนนี้คอยให้คำปรึกษาและให้ความช่วยเหลือเสมอมา
ยังระลึกถึงความดีไม่มีวันลืม
ชีวิตในการครองคู่นั้นถือกันว่าเป็นเรื่องที่สำคัญอย่างหนึ่งของมนุษย์
นอกจากนั้น ยังต้องมีองค์ประกอบที่สำคัญ คือ ต้องมีความจริงใจซื่อตรงต่อกัน,เห็นอกเห็นใจมีความเข้าใจซึ่งกันและกัน
ปรับนิสัยใจคอเข้าหากัน ไม่ควรใช้อารมณ์ในการแก้ปัญหา ซึ่งอาจจะเป็นต้นเหตุให้
นาวาชีวิตต้องอับปางลง สุดท้ายนี้กระผมขออวยพรให้คู่บ่าวสาว
จงครองรักกันด้วยความหวานชื่นราบรื่นและมีความสุขสมบูรณ์ตลอดไป ขอบคุณครับ
การกล่าวอวยพรในงานมงคล
ตัวอย่างการกล่าวอวยพรคู่สมรส
ท่านเจ้าภาพ คู่บ่าวสาว
และท่านผู้มีเกียรติทุกท่าน
ดิฉันรู้สึกยินดีและเป็นเกียรติอย่างยิ่งที่ได้มีโอกาสมากล่าวอวยพรในงานมงคลสมรสของคุณหล่อล้ำและคุณโฉมงาม
คุณโฉมงามเจ้าสาวแสนสวยในวันนี้เป็นลูกศิษย์ของดิฉันตั้งแต่เรียนระดับ ปวช.ถึงปวส.เป็นเวลา๕ปี
เนื่องจากคุณโฉมงามเป็นคนตั้งใจเรียน เรียนเก่ง
มีมนุษยสัมพันธ์ดีเพื่อนฝูงยอมรับในความสามารถจึงได้รับคัดเลือกให้หัวหน้าชั้นและนายกองค์การบริหารธุรกิจต่อมา
จากความมีน้ำใจ ขยันหมั่นเพียรมีความรับผิดชอบสูง
จึงได้รับความรักใคร่ไว้วางใจจากครูบาอาจารย์ตลอดมา
เมื่อเรียนจบก็ได้ทำงานที่มั่นคงและก้าวหน้า
คุณหล่อล้ำเป็นคนโชคดีมากที่ได้เพชรเม็ดงามเช่นนี้ไปครอบครอง
ดิฉันขอฝากข้อคิดในการครองชีวิตคู่ว่า
ความรักคือความเข้าใจและการให้อภัยการใช้ชีวิตร่วมกันย่อมมีกระทบกระทังกันบ้างเสมือนลิ้นกับฟัน
ก็ควรชักถาม พูดคุยกันด้วยเหตุผล อย่าใจร้อนวู่วามทำความเข้าใจกันในทุกเรื่อง
อย่าเก็บเอาไว้ให้ขุ่นเคืองใจกัน มีความผิดพลาดไปบ้างก็ให้อภัยแก่กัน
สุดท้ายนี้ฉันขออวยพรให้เจ้าบ่าวและเจ้าสาวจงครองรักกันด้วยความราบรื่นมีชีวิตที่สมบูรณ์พูนสุขชั่วกาลนาน
การกล่าวตอบรับในงานขึ้นบ้านใหม่
เจ้าของบ้าน
ท่านประธาน และแขกผู้มีเกียรติทุกท่าน
กระผมรู้สึกตื้นตันใจเป็นอย่างมากที่ทุกท่านได้กรุณาให้เกียรติสละเวลาอันมีค่า
มาร่วมในงานขึ้นบ้านใหม่ของกระผมในวันนี้ขอกราบขอบคุณมา ณ ที่นี้ด้วย
การที่กระผมสามารถมีวันนี้ขึ้นมาได้
ก็เพราะความรัก ความเมตตา ของท่านประธานและบรรดาแขกผู้มีเกียรติทุกท่าน
คำอวยพรใด
ๆ ที่ท่านกรุณาอวยพรให้กระผม ขอพรนั้นจงย้อนสนองตอบแด่ท่านประธานและแขก
ผู้มีเกียรติทุกท่านเป็นร้อยเท่าพันเท่า?ขอบคุณมากครับ
การกล่าวไว้อาลัย
การกล่าวไว้อาลัยมีหลายอย่าง
เช่น ไว้อาลัยผู้ตาย ไว้อาลัยผู้ที่ย้ายไปรับตำแหน่งใหม่
หรือไปศึกษาต่อยังต่างประเทศ เป็นต้น
๑. กล่าวไว้อาลัยผู้ตาย
๑.๑ กล่าวแสดงความเสียใจแก่ครอบครัวผู้ที่เสียชีวิต
๑.๒ สรรเสริญผู้เสียชีวิต
โดยบอกเล่าถึงประวัติ ผลงานดีเด่น คุณความดีของท่านผู้นั้น
๑.๓ ความอาลัยของผู้ที่อยู่เบื้องหลัง
ในอันต้องเสียบุคคลซึ่งเป็นที่รักไป
๑.๔ แสดงความหวังว่าวิญญาณของผู้ตายคงไปสู่ที่สุคติ
ตัวอย่างการกล่าวไว้อาลัย
ข้าพเจ้ารู้สึกเสียใจที่ท่านต้องมาตายจากพวกเราไป
ท่านเป็นบุคคลที่มีประวัติผลงานดีเด่นมีความซื่อสัตย์สุจริต
ขยันขันแข็งต่อการงานตลอดชีวิตของท่าน จนเป็นที่รักใคร่ของผู้บังคับบัญชา
และเพื่อนร่วมงาน การจากไปของท่านครั้งนี้นำความเสียใจและอาลัยมาสู่ครอบครัว
ญาติมิตรของท่านเป็นอย่างยิ่ง ขอให้ดวงวิญญาณของท่านจงไปสู่ที่สุคติเถิด
๒. การกล่าวไว้อาลัยผู้ที่ย้ายไปรับตำแหน่งใหม่
๒.๑ กล่าวแสดงความอาลัยที่ต้องจากกัน
๒.๒ สรรเสริญยกย่องคุณความดีของบุคคลที่จากไป
๒.๓ กล่าวอวยพรแก่ผู้ที่จะจากไป
ให้เขาประสบผลสำเร็จในตำแหน่งใหม่ที่เขาได้รับ
๒.๔ มอบของขวัญหรือของที่ระลึก
ตัวอย่างการกล่าวไว้อาลัยผู้ที่รับตำแหน่งใหม่
คุณ…. เป็นผู้ที่มีมนุษยสัมพันธ์ดี
มีความสามารถและช่วยสร้างความเจริญแก่หน่วยงานนี้ไม่น้อย
จนเป็นที่รักใคร่และคุ้นเคยกับพวกเราทุกคน
เราเสียใจที่คุณ….จะต้องจากไป แต่ก็ดีใจที่คุณ ….ได้เลื่อนตำแหน่งมีความก้าวหน้าในอาชีพ และคิดว่าคุณ …. จะสร้างความเจริญให้แก่หน่วยงานใหม่เหมือนกับที่ท่านเคยมีผลงานไว้กับที่นี่
พวกเราจึงใคร่ขอแสดงความยินดีอีกครั้ง และใคร่ขอมอบของที่ระลึกเล็กๆน้อยๆแก่ท่าน
แต่เต็มไปด้วยน้ำใจจากพวกเรา
ขอบคุณ
ตอบลบ