วันอาทิตย์ที่ 9 ธันวาคม พ.ศ. 2555

คำบูชาหลวงพ่อเงิน วัดบางคลาน จ.พิจิตร


นโม ๓ จบ

อะกะ อะธิ อะธิ อะกะ ธิอะ กะอะ

วันทามิ อาจาริยัญจะ หิรัญญะ นามะกัง ถิรัง สิทธิ ทันตัง มหาเตชัง อิทธิ มันตัง วะสาทะรัง
( สิทธิ พุทธัง กิจจัง มะมะ ผู้คนไหลมา นะชาลี ติ สิทธิ ธัมมัง จิตตัง มะมะ ข้าวของไหลมา นะชาลี ติ สิทธิ สังฆัง จิตตัง มะมะ เงินทองไหลมา นะชาลี ติ ฉิมพลี จะ มหาลาภัง ภะวันตุ เม )

วันพฤหัสบดีที่ 15 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555

รวมรายงาน


รายงานการขายเบี้องต้น
รายงานการจัดการขาย
รายงานการเพิ่มประสิทธิภาพในองค์กร
รายงานเครื่องใช้สำนักงาน
รายงานชีวิตและวัฒนธรรมไทย
รายงานทักษะภาษาไทยเพื่ออาชีพ
รายงานธุรกิจทั่วไป
รายงานบริหารการขายตรง
รายงานโปรแกรมสำเร็จรูปในงานอาชีพ
รายงานมนุษยสัมพันธ์ในการทำงาน
รายงานวิชากฎหมายธุุรกิจ
รายงานเศรษฐกิจพอเพียง
รายงานหลักการจัดการ
รายงานหลักการตลาด
รายงานห้องสมุดกับการเรียนรู้สารสนเทศ
รายงานภาษาอังกฤษสมัครงาน

ลดราคาครับเหลื่อ ราคาเล่มละ 350 บาท

วันศุกร์ที่ 24 สิงหาคม พ.ศ. 2555

ทักษะภาษาไทยเพื่ออาชีพบทที่ 6


หน่วยที่ ๖.    การเขียนข่าวประชาสัมพันธ์  

การเขียนข่าว ก็คือ การรายงานข้อเท็จจริงของเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น ตลอดจนความคิดเห็น ของบุคคลสำคัญซึ่งเป็นเรื่องราวที่น่าสนใจและประชาชนให้ความสำคัญสนใจ รวมทั้งมี ผลกระทบต่อผู้คนจำนวนมาก สำหรับนักประชาสัมพันธ์ ข่าวก็คือหัวใจของงานประชาสัมพันธ์ที่จะรายงานภารกิจความก้าวหน้าของหน่วยงานให้สาธารณชนทราบ การเขียนข่าวเป็นทั้งศาสตร์และศิลป์ และต้องมีเทคนิคในการสร้างความเข้าใจ และความสนใจแก่ประชาชนความสำเร็จ หรือความล้มเหลวของการประชาสัมพันธ์ ยังขึ้นอยู่กับความถี่ของผลงานข่าว ที่นำเสนอในสื่อต่างๆ
แหล่งที่มาของข่าวในงานประชาสัมพันธ์  
           . นโยบายของผู้บริหารกระทรวงและรัฐบาล
           . กิจกรรมขององค์กร/หน่วยงานต่างๆ 
           . การปฏิบัติราชการของรัฐมนตรีและผู้บริหารกระทรวง
           . กิจกรรมพิเศษ หรือการจัดงานในโอกาสและวันสำคัญต่างๆ
องค์ประกอบของข่าว
          การเขียนข่าวสารที่จะประชาสัมพันธ์ หรือสารที่จะสื่อออกไปยังสื่อมวลชน ควรมีสาระสำคัญหรือองค์ประกอบ ที่เรียกว่า W H” ดังต่อไปนี้
          . ใคร (Who) ใครคือบุคคลสำคัญที่เกี่ยวข้องกับข่าว
          . ทำอะไร (What) เกิดอะไรขึ้น การกระทำหรือเหตุการณ์ใดที่สำคัญ
          . ที่ไหน (Where) การกระทำหรือเหตุการณ์นั้นๆ เกิดขึ้นที่ไหน
          . เมื่อไร (When) การกระทำหรือเหตุการณ์นั้นๆ เกิดขึ้นวัน เวลาใด
          . ทำไมและอย่างไร (Why and How) ทำไมเหตุการณ์นั้นจึงเกิด และเกิดขึ้นได้อย่างไร
          . ข้อมูลประกอบอื่นๆ เช่น ความเป็นมา
ขั้นตอนในการเขียนข่าว
              . หาข้อมูล โดยการค้นคว้า รวบรวมข้อมูล และสัมภาษณ์
             . วางแผนการเขียน ศึกษากลุ่มเป้าหมายและนโยบายของสื่อที่จะส่งเผยแพร่
             . ร่างเนื้อหา รูปแบบ ภาษา ทบทวน
              . ประเมินผล โดยการอ่านทบทวนด้วยตนเอง หรือผู้ที่เกี่ยวข้องช่วยอ่าน
เทคนิคและวิธีการเขียนเนื้อหาข่าว
         . การเขียนเนื้อข่าวตามโครงสร้างแบบปีรามิดหัวกลับ (Inverted pyramid) เป็น การนำเสนอข่าวโดยลำดับประเด็นสำคัญจากมากไปหาน้อยซึ่งสอดคล้องกับธรรมชาติของมนุษย์ในการอยากรู้อยากเห็นสิ่งสำคัญก่อน ส่วนรายละเอียดไว้ทีหลังประกอบ ด้วย ข่าวพาดหัว วรรคนำ ส่วนเชื่อม และส่วนของเนื้อเรื่อง เรียงตามลำดับความสำคัญ เป็นการเขียนข่าว โดยเริ่มด้วยความนำที่เป็นประเด็นสำคัญของเรื่อง และส่วนเชื่อมที่โยง ความสัมพันธ์ระหว่างความนำกับเนื้อหา ที่มีความสำคัญรองลงมา ส่วนเนื้อหาจะเป็น ส่วนประกอบที่ให้รายละเอียดของเหตุการณ์หรือเรื่องราวที่เกิดขึ้นทั้งหมด
         . การเขียนเนื้อหาข่าวตามโครงสร้างแบบปีรามิดหัวตั้ง (Upright pyramid) การเขียนเนื้อหาข่าวแบบนี้ จะให้รายละเอียดของข้อมูลข่าวในลักษณะที่ค่อยๆ เพิ่มความสำคัญขึ้นเรื่อยๆ โดยประเด็นสำคัญที่สุดของเรื่อง จะเปิดเผยให้รู้ในตอนสุดท้ายของเรื่อง คล้ายๆกับการเขียนเรื่องสั้นหรือนวนิยาย มักใช้กับเรื่องราวที่ไม่จริงจังมากนัก เพราะหากนำประเด็นสำคัญไว้ในความนำ หรือ วรรคนำ ผู้ฟังอาจไม่ติดตาม รับฟังจนจบ
          . การเขียนเนื้อข่าวตามโครงสร้างแบบผสม การเขียนเนื้อข่าวในลักษณะนี้ อาจมีประเด็นสำคัญหรือ จุดที่มีความตื่นเต้นเร้าใจมากกว่า ๑ ประเด็น มักนิยมใช้ในกรณีที่เหตุการณ์นั้นดำเนินไปอย่างต่อเนื่อง หรือเหตุการณ์ยังไม่สิ้นสุด การเขียนข่าวจึงอาจเริ่มต้นสรุปประเด็นเท่าที่ทราบก่อนหน้านั้น มาเขียนเป็นความนำข่าว ขณะที่ เนื้อข่าวก็จะเป็นการอธิบายรายละเอียดขยายความนำ จนกระทั่งถึงจุดใดจุดหนึ่ง ซึ่งเป็นการหักเหหรือเปลี่ยนแปลงให้เกิดประเด็นสำคัญต่อเนื่องไปจนจบ
ข้อควรระวังในการเขียนข่าวประชาสัมพันธ์
          . ชื่อและนามสกุลต้องสะกดให้ถูกต้อง เพราะว่าถ้าผิดพลาดอาจกลาย เป็นคนละบุคคล หรือเกิดความเสียหายได้
          . ยศ ตำแหน่ง ต้องระบุให้ตรงกับความเป็นจริงขณะนั้น เช่น อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ
          . คำนำหน้าชื่อ และบรรดาศักดิ์ต้องระบุเรียงลำดับให้ถูกต้อง
          . การใช้อักษรย่อ หรือตัวย่อต่างๆ ควรตรวจสอบให้ดี
          . ไม่สอดแทรกความคิดเห็นส่วนตัวเข้าไป
          . การเขียนตัวเลขถ้ามีจำนวนมากอาจใช้ตัวอักษรแทน ถ้าไม่ใช่ตัวเลขที่แน่นอน ควรใช้คำว่าประมาณ
          . หลีกเลี่ยงการใช้ศัพท์เทคนิคที่เข้าใจยาก
๒.ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับการประชาสัมพันธ์
๒.๑ ส่วนประกอบ ๔ ประการของการประชาสัมพันธ์
                             ๑.การประชาสัมพันธ์เป็นปรัชญาการจัดการที่เห็นความสำคัญของสังคมที่เน้นประโยชน์ของประชาชนมาก่อนสิ่งอื่นใด
                             ๒.การประชาสัมพันธ์เป็นปรัชญาทางสังคมที่แสดงไว้ในการตัดสินใจเกี่ยวกับนโยบาย ซึ่งสะท้อนปรัชญาที่จะให้ประโยชน์แก่ประชากรเป้าหมาย
                              ๓.การประชาสัมพันธ์เป็นการกระทำที่มีผลมาจากนโยบายที่ดี  หน่วยงานนั้นจะถูกตัดสินโดยสิ่งที่เขาทำ ไม่ใช่สิ่งที่เขาพูด  ประชาสัมพันธ์เป็น Line Function ของหัวฝ่ายทุกฝาย
                             ๔.การประชาสัมพันธ์เป็นการสื่อสาร ที่จะแสดงอธิบายบรรยายหรือส่งเสริมนโยบายของหน่วยงานและปฏิบัติต่อประชากรเป้าหมาย เพื่อก่อให้เกิดความเข้าใจอันดี และความรู้สึกที่ดีต่อหน่วยงาน เป็นการสื่อสารปรัชญา ดังกล่าวไปสู่ประชากรเป้าหมาย

ตัวอย่าง  
เปิดแล้ว! บริการใหม่จากไปรษณีย์ ไทย ส่งของใหญ่เต็มพิกัดถึง ๒oo กก.
ไปรษณีย์ไทยเปิดบริการใหม่โลจิสโพสต์ระหว่างประเทศ อำนวยความสะดวกแก่ผู้ส่งออกสินค้าขนาดใหญ่ หรือส่งออกคราวละมากๆน้ำหนักตั้งแต่ ๒o oo กก. หรือส่งสินค้าตัวอย่างไปยังปลายทางในต่างประเทศ โดยเปิดให้บริการแล้วในระยะแรก ๗ ประเทศ ได้แก่ สหรัฐอเมริกา

กรุงเทพฯ--๒๕ พ.ค.--สำนักงานเลขานุการกองทัพเรือ
บริษัท ไปรษณีย์ไทย จำกัด ( ปณท.) เป็นตัวแทนจำหน่ายบัตรภาพ " ล้านดวงใจ ร่วมห่วงใย เพื่อน้องผู้ประสบภัย" ของโครงการห้องสมุดเฉลิมพระเกียรติ ๗๒ พรรษา ที่จัดทำขึ้นร่วมกับสมาคมนักร้องแห่งประเทศไทย โดยเริ่มวางจำหน่าย ณ ที่ทำการไปรษณีย์จำนวน ๒๒๗ แห่ง ทั่วประเทศ เป็นชุด ๆ ละ ๖ ใบ ในราคา ๕๐.- บาท ตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไปจนถึงวันที่ ๓๐ ตุลาคม ๒๕๔๘ โดยโครงการดังกล่าวมีวัตถุประสงค์เพื่อหาทุนการศึกษาให้แก่เด็กกำพร้าผู้ยากไร้ที่ประสบภัยธรณีพิบัติในเหตุการณ์คลื่นสึนามิถล่มชายฝั่งทะเลอันดามันและสมทบทุนจัดตั้งห้องสมุดเฉลิมพระเกียรติจำนวน ๗๒ ห้อง มอบให้แก่โรงเรียนที่ขาดแคลนในชนบท และ ๖ จังหวัดภาคใต้ที่ประสบภัย ถวายเป็นพระราชกุศลแด่สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ เนื่องในวโรกาสที่ทรงเจริญพระชนมพรรษาครบ ๗๒ พรรษา
 ขอเชิญชวนข้าราชการ ทหาร ลูกจ้าง และครอบครัว ตลอดจนประชาชนทั่วไป ซื้อบัตรภาพการกุศลดังกล่าวได้ ณ ที่ทำการไปรษณีย์ทุกจังหวัดทั่วประเทศ

รับสมัครแล้ววันนี้
วิทยาลัยเทคโนโลยีไทยอิโตะ(พัทยา) เปิดรับสมัคร นักเรียน - นักศึกษาใหม่ ปีการศึกษา ๒๕๕๕ เปิดรับสมัครทุกวัน ที่ วิทยาลัยเทคโนโลยีไทยอิโตะ ไม่เว้นวันหยุดราชการ
โดยเปิดรับสมัคร นักศึกษา ระดับชั้น ปวช.และ ปวส. ภาคปกติ และภาควันอาทิตย์วันเดียว
- รับสมัครนักศึกษาปวช. และ ปวส. ภาคปกติ และเสาร์ อาทิตย์ประจำปีการศึกษาใหม่ ด่วน!!
- หลักสูตรเทียบโอนประสบการณ์ ปวช.๑ ปี และปวส. ๘ เดือนจบ(ขึ้นกับประสบการณ์ผู้เรียน)
- เปิดรับสมัครปริญญาตรี ๔ ปี และ ๒ ปีต่อเนื่อง สาขา การตลาด คอมพิวเตอร์ธุรกิจ การโรงแรมและท่องเที่ยว
- ปริญญาโท ศึกษาศาสตร์มหาบัณฑิต สาขาเทคโนโลยีและนวัตกรรมเพื่อการบริหารการศึกษา

ทักษะภาษาไทยเพื่ออาชีพบทที่ 5


หน่วยที่ ๕. การเขียนข้อความโฆษณา
การเขียนข้อความโฆษณา
การโฆษณาเป็นสื่อสำคัญในการโน้มน้าวใจลูกค้าให้เกิดความต้องการในสินค้าและบริการการเขียนข้อความโฆษณาจึงเป็นสิ่งสำคัญ หลักการเขียนข้อความโฆษณาเป็นสิ่งที่สามารถเรียนรู้และฝึกฝนจนชำนาญได้
ความสำคัญของการโฆษณา
การโฆษณาเป็นการเสนอขายสินค้าหรือบริการแก่ผู้บริโภค เพื่อให้ผู้บริโภครู้จัก ประทับใจและต้องการสินค้าหรือบริการนั้น การโฆษณาจึงมีความสำคัญต่อธุรกิจเป็นอย่างมาก ความสำคัญของการโฆษณามีดังนี้
๑.       เพื่อให้ผู้บริโภครู้จักสินค้าหรือบริการ
๒.     เพื่อเน้นย้ำลักษณะพิเศษของสินค้าและบริการ
๓.      เพื่อกระตุ้นการตัดสินใจของผู้บริโภค
๔.      เพื่อสร้างความใกล้ชิดกับผู้บริโภค
๕.      เพื่อการแข่งขันด้านการค้า
๖.       เพื่อเร่งการขายให้เร็วขึ้น
๗.      เพื่อขายสินค้าและบริการ
การใช้ภาษาในการโฆษณา
๑.       ใช้ภาษาอย่างมีจิตวิทยา
เป็นการใช้หลักทางจิตวิทยามาดึงดูดใจผู้บริโภค เช่น การลากเข้าพวก เพราะมนุษย์ชอบทำตามกัน การเสนอตนเป็นพวกเดียวกัน ตัวอย่างเช่น
-  วัยรุ่นสมัยนี้นิยมใช้โทรศัพท์มือถือมาก...
-  ...ผลิตโดยคนไทย เพื่อคนไทย
-  เส้นทางยาวไกล...เราไปด้วยกัน

๒.     ใช้ภาษาเพื่อแสดงเหตุผล
เป็นการใช้ภาษาแสดงรายละเอียด หรือโยงไปสู่เหตุการณ์ปัจจุบันที่กำลังเป็นที่สนใจ มีการอ้างเหตุผลเพื่อโน้มน้าวใจผู้บริโภค แต่บางครั้งก็ไม่ได้แสดงความเป็นเหตุเป็นผลมากนัก ตัวอย่างเช่น
-  ซูซูกิ มีดีจนต้องกรี๊ด
-  เริ่มต้นที่ดี มีชัยไปกว่าครึ่ง
-  โน๊ตบุ๊กจอกว้าง ให้คุณยิ้มกว้าง
๓.      ใช้ภาษาเกินความจริง
เป็นการใช้ภาษาที่มุ่งดึงดูดความสนใจของผู้บริโภคโดยไม่คำนึงถึงหลักความเป็นจริง บางครั้งอาจแสดงความไม่จริงใจและเป็นการดูถูกผู้บริโภคได้ ตัวอย่างเช่น
ใช้ครีมเพียง ๓ วัน หน้าจะขาวจนคุณตะลึง
สวยจนสยบทุกสายตาด้วยนาฬิกา...
การบินไทย รักคุณเท่าฟ้า
๔. ใช้ภาษาที่ผู้บริโภคต้องตีความเอง
เป็นการใช้ภาษาที่ไม่ได้ตีความเองทั้งหมด ผู้บริโภคต้องตีความเอาเองว่าเป็นอย่างไร ตัวอย่างเช่น
-  ผ่อนสบาย ๆ กับรถยนต์...
-  เพียงล้านต้น ๆ คุณก็จะได้เป็นเจ้าของบ้าน...
-  เฟอร์นิเจอร์หรูราคาพิเศษจริง ๆ
๕.      ใช้คำต่างประเทศ
เป็นการใช้ภาษาต่างประเทศเพื่อทำให้โฆษณานั้นน่าเชื่อถือยิ่งขึ้น เนื่องจากคนไทยนิยมสินค้าต่างประเทศมากกว่าของไทย ตัวอย่างเช่น
-  สดชื่นสไตล์คุณ
-  เคลียร์รังแค เคลียร์ใจ
ไม่มีลิมิต ชีวิตเกินร้อย
การเขียนข้อความพาดหัวโฆษณา
๑. การเขียนข้อความพาดหัวโฆษณาแบบคำขวัญหรือคำคมเป็นวิธีที่นิยมมากเพราะลูกค้าจำง่าย เนื่องจากใช้ภาษาที่มีสัมผัสคล้องจ้อง เช่น
-  โฉมใหม่ สนุกสะใจ ทั้งร้อง ทั้งเต้น
-  ตรัง...แดนสวรรค์สำหรับคนรักธรรมชาติ
-  อิสระทุกที่...ทุกเวลา
๒.     การเขียนข้อความพาดหัวโฆษณาแบบใช้คำถามเป็นวิธีการตั้งคำถามไปยังลูกค้าเพื่อให้เกิดความสนใจค้นหาคำตอบ
คุณกำลังมองหาบ้านดี ๆ สักหลังใช่ไหม
เราฝันอยากไปให้ถึงดวงดาว อยากรู้จังบนนั้นมีอะไร
พบคู่ชีวิตที่แท้จริงของคุณหรือยัง
๓. การเขียนข้อความพาดหัวโฆษณาแบบให้การสัญญาหรือรับรองคุณภาพ เป็นวิธีการที่บอกประโยชน์และความพึงพอใจเมื่อเลือกใช้สินค้าหรือบริการนี้
ปากสุขภาพดี มั่นใจเต็มร้อย
อร่อยจนหยุดปากไม่ได้
เพื่อผิวพรรณสวยสดใสอยู่เสมอ
๔. การเขียนข้อความพาดหัวโฆษณาแบบบอกวิธีการใช้สินค้าหรือบริการเป็นวิธีการที่ทำให้ผู้บริโภคเข้าใจวิธีการใช้สินค้าหรือบริการนั้น
-  เปิดปุ๊บ ติดปั๊บ
-  แค่ฉีกซองแล้วเติมน้ำร้อน
-
  ทาทุกเมื่อเพื่อบรรเทา

๕.      การเขียนข้อความพาดหัวโฆษณาแบบเลือกสรรกลุ่มลูกค้าเป้าหมาย เป็นวิธีการเลือกระบุกลุ่มลูกค้าเป้าหมายที่ควรจะเลือกใช้สินค้าหรือบริการ
นิตยสารสำหรับคนรักสุขภาพ
เจ้าของธุรกิจไหน ๆ มั่นใจใช้ บัลลาสต์ทรอนิกส์ของแลมป์ตั้น
โทรศัพท์มือถือสำหรับวัยรุ่นสมัยใหม่เช่นคุณ
การเขียนข้อความเนื้อหาในโฆษณา
๑.      การเขียนข้อความเนื้อหาในโฆษณาแบบเสนอขายโดยตรง
๒.     การเขียนข้อความเนื้อหาในโฆษณาแบบกล่าวอ้างเกียรติภูมิ
๓.      การเขียนข้อความเนื้อหาในโฆษณาแบบกล่าวอ้างประจักษ์พยาน และอ้างคำพูดของผู้อื่น
๔.      การเขียนข้อความเนื้อหาในโฆษณาแบบเร้าอารมณ์
๕.      การเขียนข้อความเนื้อหาในโฆษณาแบบใช้ภาพและคำบรรยายใต้ภาพ
การเขียนข้อความปิดท้ายที่เป็นคำขวัญในโฆษณา
๑. คำขวัญที่ใช้ชื่อสถาบัน ชื่อบริษัท หรือชื่อผลิตภัณฑ์ในการโฆษณา
อนาคตสดใส อนาคตออเร้นจ์
ไทยประกันชีวิต บริษัทคนไทย เพื่อคนไทย
เล็ก ๆ มิต้าไม่ ใหญ่ ๆ มิต้าทำ
๒. คำขวัญที่โฆษณาสินค้าโดยตรง
-  ทุกสิ่งถูกใจไปคาร์ฟูร์
-  ผ้าอ้อมอารมณ์ดี เบบี้เลิฟ
-  Swensen’s ความสุขที่ไม่มีวันละลาย
 หน้าที่ของการโฆษณา
จุดมุ่งหมายหลักของการโฆษณา ก็คือ การขายสินค้า แต่จุดมุ่งหมายที่ต้องการให้เกิดขึ้นฉับพลันก็คือ การติดต่อสื่อสาร โดยเฉพาะอย่างยิ่งเป็นการสื่อสารไปยังกลุ่มเป้าหมายที่แอบแฝงด้วย หน้าที่ที่สำคัญของการโฆษณามีหลายประการ คือ
๑. เพื่อกระตุ้นให้เกิดการรับรู้ (Creating Awareness)
๒. เพื่อสร้างสรรค์ภาพพจน์ที่ดี (
Creating a Favorable Image)
๓. เพื่อชักจูงใจกลุ่มเป้าหมาย
๔. เพื่อกระตุ้นแหล่งที่จะนำสินค้าไปจำหน่าย (
Outlets)
๕.  เป็นการเพิ่มคุณค่าให้กับสินค้า
๖.  เพื่อสร้างภาพพจน์ที่ดีให้แก่บริษัทผู้ผลิต
๗.  ให้ความเพลิดเพลินสนุกสนาน
วัตถุประสงค์ของการโฆษณา
- เพื่อแนะนำสินค้าใหม่
- เพื่อขจัดความรู้สึกที่ไม่ดีหรือป้องกันมิให้ลูกค้าไปซื้อสินค้ายี่ห้ออื่นแทน
- เพื่อเพิ่มยอดขายของกิจการให้มากขึ้น- เพื่อเพิ่มยอดขายของสินค้า
- เพื่อเข้าไปในตลาดใหม่หรือจูงใจลูกค้ารายใหม่ ๆ
- เพื่อสร้างความสัมพันธ์กับผู้จำหน่ายต่าง ๆ
- เพื่อให้เข้าถึงบุคคลที่พนักงานขายไม่สามารถเข้าถึงได้
- เพื่อสร้างภาพพจน์ที่ดี หรือชื่อเสียงของกิจการ
- เพื่อสนับสนุนการขายโดยพนักงานขาย
 ประเภทของการโฆษณา
การโฆษณาระดับชาติ National Advertising  เป็นการโฆษณาที่เหมาะสำหรับสินค้าที่มีจำหน่ายแพร่หลายทั่วไปทั้งประเทศ หรือรวมไปถึงต่างประเทศด้วยการใช้สื่อควรเป็นสื่อที่มีประสิทธิภาพครอบคลุมอาณาเขตกว้างไกลทั่วไปทั่วประเทศ เช่น หนังสือพิมพ์หรือนิตยสารที่วางจำหน่ายทั่วประเทศ วิทยุกระจายเสียง และวิทยุโทรทัศน์ ที่มีกำลังส่งสูง รับได้ทั่วประเทศหรือถ่ายทอดในระบบเครือข่าย(Network)ไปทั่วประเทศการใช้สื่อโฆษณาระดับชาติจะเสียค่าใช้จ่ายสูงกว่าสื่อโฆษณาระดับท้องถิ่นมากแต่ให้ผลคุ้มค่าเมื่อเทียบอัตราเฉลี่ยระหว่างค่าโฆษณากับจำนวนประชาชนที่รับทราบข่าวสารการโฆษณานั้น  
การโฆษณาการค้าปลีก Retail Advertising หรือเรียกอีกอย่างหนึ่งว่าการโฆษณารับท้องถิ่น (Local Advertising) เป็นการโฆษณาที่เหมาะสำหรับสินค้าหรือบริการที่มีขอบเขตการจำหน่ายอยู่แต่ละท้องถิ่น เช่นห้างสรรพสินค้า ร้านอาหาร อู่ซ่อมรถยนต์ ฯลฯ ซึ่งเหมาะสำหรับการใช้สื่อโฆษณาระดับท้องถิ่น เช่นการโฆษณาทางไปรษณีย์ การทำป้ายโฆษณากลางแจ้งขนาดใหญ่ (Cut-Out) โปสเตอร์(Poster) หรือ ใบปิดใบปลิว ใบโฆษณาพับ จดหมายขาย วิทยุกระจายเสียง โทรทัศน์(เคเบิ้ลท้องถิ่น) หนังสือพิมพ์ท้องถิ่น
การโฆษณาสินค้าที่ใช้ในแวดวงอุตสาหกรรม Industrial Advertising  เป็นการโฆษณาสินค้าของผู้ผลิตหรือตัวแทนจำหน่ายโฆษณาไปยังผู้ค้าปลีกหรือผู้ค้าส่งทั่วไปเพื่อให้รับซื้อสินค้าไว้จำหน่ายให้กับผู้บริโภคอีกต่อหนึ่งสื่อที่นิยมใช้ ได้แก่ การส่งจดหมายโดยตรงใบโฆษณาพับ แคตตาล็อก  เอกสารแนะนำประกอบ การจัดนิทรรศการแนะนำสินค้า
การโฆษณาการค้า Trade Advertising  เป็นการโฆษณาสินค้าของผู้ผลิตหรือตัวแทนจำหน่าย โฆษณาไปยังผู้ค้าปลีกหรือผู้ค้าส่งทั่วไปเพื่อให้รับซื้อสินค้าไว้จำหน่ายให้กับผู้บริโภคอีกต่อหนึ่งสื่อที่นิยมใช้ ได้แก่ การส่งจดหมายโดยตรงใบโฆษณาพับ แคตตาล็อก (Catalogs)เอกสารแนะนำประกอบ (Brochure) การจัดนิทรรศการแนะนำสินค้า เป็นต้น
การโฆษณาในงานอาชีพ  Professional Advertising    เป็นการโฆษณาที่ผู้ผลิตหรือตัวแทนจำหน่าย โฆษณาให้แก่บุคคลผู้มีอาชีพต่าง ๆได้ซื้อสินค้าเอาไว้ใช้ในการประกอบอาชีพหรือให้ผู้ที่มีอาชีพเหล่านั้นแนะนำให้ลูกค้าและผู้เกี่ยวข้องได้ซื้อสินค้าไว้ใช้เพราะผู้มีอาชีพต่าง ๆ มักจะได้รับการยอมรับและเชื่อถือของบุคคลทั่วไปมาก เช่น แพทย์ วิศวกรเกษตรกร กุ๊ก ดารา นักร้อง-นักแสดง นักกีฬา นักออกแบบเสื้อผ้า ช่างผมคนดัง ฯลฯ
การโฆษณาสั่งซื้อสินค้าทางไปรษณีย์ Mail - Order Advertising เป็นการโฆษณาพร้อมทั้งชายสินค้าไปในตัว โดยที่ผู้ซื้อและผู้ขายไม่จำเป็นต้องพบกัน เพียงแต่ใช้บริการไปรษณีย์เท่านั้นเหมาะสำหรับสื่อโฆษณาประเภทสิ่งพิมพ์ เช่น จุลสาร (booklet) ใบโฆษณาพับและที่นิยมใช้กันมากคือนิตยสารโดยการพิมพ์รูปภาพของสินค้าพร้อมทั้งแบบฟอร์มสั่งซื้อไว้ให้ผู้สนใจกรอกแบบฟอร์มสั่งซื้อซึ่งผู้ขายจะส่งสินค้าไปให้โดยวิธีเก็บเงินปลายทางวิธีนี้ให้ความสะดวกเหมาะสำหรับผู้ไม่มีเวลาไปหาซื้อสินค้าด้วยต้นเองแต่มีปัญหาว่าการไม่ได้ไปดูสินค้าด้วยตนเองนั้น เมื่อสั่งซื้อสินค้ามาแล้วอาจจะได้ของที่ไม่ถูกใจก็ได้
การโฆษณาที่ไม่เกี่ยวกับสินค้า Non Product Advertising ได้แก่การโฆษณาที่ไม่เกี่ยวกับสินค้า (Non-Product or Idea Advertising) ได้แก่ การโฆษณาสถาบันพรรคการเมือง หรือองค์กรต่าง ๆ รวมถึงบริษัท ห้างร้านที่มิได้เน้นการจำหน่ายสินค้าหรือบริการแต่เพื่อต้องการสร้างชื่อเสียงเพื่อเผยแพร่ข่าวสารกิจการต่าง ๆ หรือเพื่อเผยแพร่แนวความคิดต่าง ๆให้ได้รับความยอมรับ เชื่อถือ หรือร่วมมือตามที่ผู้โฆษณาต้องการ อันเป็นการโฆษณาในลักษณะของประชาสัมพันธ์    
โครงร่างข้อความโฆษณา
๑. พาดหัว (Headline)
พาดหัว (Headline) ในการเขียนข้อความโฆษณา จำเป็นจะต้องมีพาดหัวเสมอเพราะพาดหัวเป็นส่วนที่เด่นที่สุดในประเภทของข้อความโฆษณา มีไว้เพื่อให้สะดุดตาสะดุดใจชวนให้ติดตามอ่านเรื่องราวต่อไป ลักษณะของพาดหัวที่ดี ควรจะมีขนาดตัวอักษรโตหรือเด่น  เป็นข้อความที่สั้น  กะทัดรัด ชวนให้น่าคดหรือน่าติดตามอ่านต่อไป
๒. พาดหัวรอง (Sub Headline)
พาดหัวรอง (Subheadline or Subcaption) คือ ข้อความที่มีขนาดและความสำคัญรองลงมาจากพาดหัว หรือในกรณีที่พาดหัวเป็นประโยคยาว ๆ ทำให้ไม่เด่นไม่สะดุดตา อาจจะตัดทอนตอนใดตอนหนึ่งลงมาให้เป็นพาดหัวรองก็ได้ โดยลดให้ตัวอักษรมีขนาดรองลงมาจากพาดหัว ถ้าเป็นพาดหัวประเภทอยากรู้อยากเห็นหรือแบบฉงน ซึ่งมีจุดมุ่งหมายเพื่อให้ผู้อ่านสนเท่ห์หรือประหลาดใจ อาจจะต้องใช้พาดหัวรองทำหน้าที่ขยายความจากพาดหัวให้เข้าใจเพิ่มขึ้น
๓. ประโยชน์หรือรายละเอียด (Body text)
     สำหรับสินค้าใหม่ที่ประชาชนยังไม่รู้ยังไม่เข้าใจประโยชน์ว่าใช้ทำอะไร ใช้อย่างไร หรือรู้จักแล้วแต่การโฆษณาต้องการเน้นให้ถึงประโยชน์เพื่อการจูงใจซื้อ  จึงควรชี้ให้เห็นว่าสินค้านี้ให้ประโยชน์คุ้มค่าอย่างไร แต่ถ้าเป็นสินค้าที่รู้จักกันดีโดยทั่วไป  อาจจะไม่จำเป็นต้องเน้นประโยชน์ก็ได้ เพื่อให้พื้นที่โฆษณาดูโปร่งตา ไม่รกไปด้วยข้อความ ซึ่งจะดูดีกว่าโฆษณาที่แน่นไปทั้งภาพด้วยเรื่องราวต่างๆ  เต็มพื้นที่

ประโยชน์อื่น  ๆ  หรือรายละเอียดเกี่ยวกับสินค้า
     ถ้าสินค้ามีคุณสมบัติพิเศษ หรือมีประโยชน์เหนือกว่าสินค้าธรรมดาโดยทั่วไป  การเขียนข้อความโฆษณาจึงควรมีรายละเอียดส่วนนี้ไว้ด้วย เพื่อช่วยสร้างความสนใจเป็นพิเศษแก่ผู้อ่าน เช่น เครื่องดูดฝุ่น นอกจากใช้ดูดฝุ่นแล้วยังสามารถใช้เป่าลมได้อีกด้วย      
๔. ข้อความพิสูจน์กล่าวอ้าง (Proof)
ข้อความส่วนนี้มีไว้เพื่อสร้างความเชื่อถือหรือช่วยให้เกิดความมั่นใจในสินค้า โดยมักจะอ้างอิงบุคคลที่สามารถอ้างอิงได้ตั้งแต่บุคคลธรรมดาทั่ว ๆ  ไปที่ใช้สินค้าหรือบริการ แต่ถ้าเป็นดาราหรือบุคคลที่มีชื่อเสียงเป็นที่ยอมรับและรู้จักกันดีในสังคม  ก็จะได้รับความสนใจและได้รับความเชื่อถือเป็นพิเศษโดยเฉพาะคนเด่นคนดังในสาขาอาชีพนั้นๆ เช่น นักกีฬาที่มีชื่อเสียงระดับชาติ หรือระดับโลก  โฆษณาสินค้าที่เกี่ยวกับกีฬาประเภทนั้นๆ ผู้มีชื่อเสียงเกี่ยวกับอาหารการกิน  แนะนำเรื่องอาหารหรือเกี่ยวกับอาหาร เป็นต้น
     การอ้างถึงสถาบัน  หน่วยงานที่เกี่ยวข้องรับรอง เช่น การได้รับเครื่องหมายรับรองของ อย.  (คณะกรรมการอาหารและยา)  หรือเครื่องหมายรับรองของ มอก.  (ซึ่งเป็นเครื่องหมายรับรองของสำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม) เป็นต้น หรืออ้างถึงหน่วยงานหรือกิจกรรมที่ยอมรับและนำไปใช้ในการปฏิบัติงาน  เช่น  นาฬิกาที่ใช้จับเวลาในการแข่งขันกีฬาระดับภาค  ระดับชาติ ไปจนถึงระดับโลก เป็นต้น
๕. ข้อความปิดท้าย (Closing)
เป็นการจบโฆษณา โดยสรุปให้ทราบว่าผู้อ่านควรจะทำอย่างไร เช่น ให้ตัดสินใจซื้อ  ซื้อได้ที่ไหน  ซื้อได้โดยวิธีใด  ใครเป็นผู้ผลิตหรือตัวแทนจำหน่าย และคำขวัญ ก็เป็นที่นิยมในส่วนข้อความปิดท้าย เป็นต้น

ทักษะภาษาไทยเพื่ออาชีพบทที่ 4


หน่วยที่ ๔.  การเขียนบันทึก
ความหมายและความสำคัญของการบันทึก
การเขียนบันทึก คือ การเขียนบันทึกข้อมูลที่เป็นประสบการณ์ ความรู้ หรือข้อความสำคัญในการจดบันทึก ต้องบอกแหล่งที่มา หรือวัน เวลาที่จดบันทึกไว้ด้วย
หลักการเขียนบันทึก/ประเภทของบันทึก
๑. ประเภทของการเขียนบันทึก มี ๒ ประเภท ดังนี้
     ๑.๑  การเขียนบันทึกเหตุการณ์ เป็นการเขียนเรื่องราวที่ได้พบเห็นเรื่องใดเรื่องหนึ่ง เพื่อเป็นการบันทึกความรู้ เตือนความจำ บรรยายความรู้สึก หรือเเสดงข้อคิดเห็น
      ๑.๒  การเขียนบันทึกเหตุการณ์ประจำวัน เป็นการเขียนเรื่องราวส่วนตัว หรือเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นหรือที่พบเห็นจากการเดินทางในแต่ละวัน เพื่อเตือนความจำ แสดงความรู้สึก และข้อคิดเห็น
การเขียนบันทึกข้อความ / การลงท้ายบันทึกข้อความ
สิ่งที่ต้องมีในการเขียนบันทึกเหตุการณ์ คือ
๑. วัน เดือน ปี ที่บันทึก
๒. แหล่งที่มาของเรื่องราวทีได้พบเห็นมา
๓. เรื่องราวที่พบเห็นมา โดยสรุปย่อสาระสำคัญด้วยสำนวนภาษาของตน ซึ่งอาจจะเเสดงข้อคิดเห็นด้วย
การเขียนบันทึกเหตุการณ์จากการค้นคว้าเพื่อบันทึกความรู้เป็นการสร้างนิสัยรักการอ่านและการเเสวงหาความรู้เพิ่มเติมจากสื่อต่างๆ นอกจากนี้ยังเป็นการฝึกย่อความป้องกันการหลงลืม และประหยัดเวลาด้วย
๒. ข้อควรปฏิบัติในการเขียนบันทึก
๒.๑ ทำความเข้าใจกับเรื่องราว โดยเรียงลำดับความคิดและเนื้อเรื่องให้เข้าใจง่าย
๒.๒ บันทึกด้วยสำนวนภาษาของตนเอง ให้อ่านง่ายและเป็นระเบียบ
๒.๓ บันทึกเฉพาะสาระสำคัญ เช่น ใคร ทำอะไร ที่ไหน เมื่อไหร่ ทำไม
                              ๒.๔ ฝึกบันทึกอย่างรวดเร็ว เช่น ใช้เครื่องหมายและอักษรย่อ ขีดเส้นใต้หัวข้อและประเด็นสำคัญ
๓. วิธีการเขียนบันทึก
๓.๑ ลำดับความให้เชื่อมโยงต่อเนื่องกัน ไม่วกวน เช่น
ตอนบ่ายง่วงนอนเพราะดูทีวีจนดึงจึงนั่งสัปหงก หนูลีชวนไปเล่นวิ่งไล่จับเลยหายง่วง เลิกเรียนเเล้วกลับบ้าน และช่วยคุณเเม่ทำกับข้าว กลางคืนทำการบ้านเสร็จ แล้วรีบเข้านอน
๓.๒  ลำดับเหตุการณ์ เช่น
      วันที่ ๑ มกราคม ๒๕๕๐
      เวลา ๑๐.๐๐ น. เสียงร้องเพลงดังรบกวนขณะที่ฉันกำลังดูหนังสือ
      เวลา ๑๐.๓๐ น. เสียงร้องเพลงดังกว่าเดิม จึงตะโกนถามและบอกให้ลดเสียง
      เวลา ๑๑.๑๐ น. เสียงร้องเพลงดังมากขึ้นเหมือนจงใจจะเเกล้ง ฉันเลยหยุดดูหนังสือ ไปทำงานอื่นเเทน
๓.๓ การเชื่อมโยง เช่น ตอนสายเสียงร้องเพลงดัง เวลาต่อมากเสียงร้องเพลงดังมากขึ้น ต่อมาจึงหยุดดูหนังสือ
๓.๔ การเน้นใจความสำคัญ เช่น เริ่มเรื่อง ร้องเพลงเสียงดัง ตะโกนถาม ผล เสียงร้องเพลงดังขึ้นสรุป เลิกดูหนังสือ หันไปทำงานอื่น ผล เหตุการณ์สงบ

ตัวอย่าง การเขียนบันทึกเหตุการณ์
                                                                                 ๑ ตุลาคม ๒๕๔๙
              กระทรวงการคลังได้ข้อยุติในมาตรการลดหย่อนภาษีเพื่อช่วยเหลือสังคม และพัฒนาศักยภาพในการเเข่งขันให้แก่ผู้ประกอบการไทย
              รมว. คลังสั่งให้กรมสรรพากรหักค่าลดหย่อนสำหรับการเลี้ยงดูบุพการี โดยคนที่เลี้ยงดูพ่อเเม่ของตัวเอง สามารถนำค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นมาหักเป็นค่าลดหย่อนได้คนละ ๓๐,๐๐๐ บาทโดยบุพการีมราเลี้ยงดูนั้นไม่จำเป็นต้องมีชื่ออยู่ในทะเบียนบ้าน

ตัวอย่าง การเขียนบันทึกเหตุการณ์ประจำวัน
                                                                     ๑๒ พฤศจิกายน ๒๕๕๐
           วันที่ฉันไปโรงเรียนตั้งเเต่ ๖.๕๔ น. เพื่อไปรดน้ำผักบุ้งที่แปลงผักหลังอาคารเรียน ฉันยืนมองผักบุ้งที่แตกยอดอวบงามแล้วรู้สึกภูมิใจมากที่ฉันสามารถปลูกผักให้งอกงามได้ด้วยมือของฉันเอง
            ๘.๐๐ น. เรียนวิชาภาษาไทยกับคุณครูมณี วันนี้เราเรียนเรื่องการใช้สำนวนภาษาในการสื่อสารกัน คุณครูมณีจึงให้ฉันยกตัวอย่างสำนวนมา ๑ สำนวน ฉันยกตัวอย่างสำนวนว่า \"เป็นปืนเป็นไฟ\" ซึ่งหมายถึง อาการโกรธอย่างรุนแรง เพื่อนๆ ก็หัวเราะ และล้อฉันว่าฉันคงโกรธเป็นฟืนเป็นไฟ ถ้าหากใครไปทำให้แปลงผักบุ้งเสียหาย ฉันยิ้มรับและหัวเราะ

ทักษะภาษาไทยเพื่ออาชีพบทที่ 3


หน่วยที่ ๓.   การเขียนจดหมายธุรกิจ
ความสำคัญของจดหมาย การเขียนจดหมายกิจธุระ
จดหมายกิจธุระ  หมายถึงจดหมายที่ใช้ติดต่อกันเพื่อกิจธุระบางประการที่นอกเหนือจากเรื่องส่วนตัว   การติดต่อเพื่อกิจธุระนั้นอาจจะกระทำกันระหว่างเอกชนหรือเอกชนกับหน่วยงานทางราชการก็ได้  เช่น จดหมายสมัครงาน   จดหมายขอความช่วยเหลือ  จดหมายสอบถามเรื่องต่างๆ   จดหมายสั่งซื้อสินค้า เป็นต้น
หลักการเขียนจดหมายกิจธุระ
๑. ต้องสร้างความประทับใจแก่ผู้รับ  โดยคำนึงถึงจิตใจและความรู้สึกของผู้รับเสมอ  ผู้เขียนควรพิถีพิถันในเรื่องการใช้กระดาษ ความสะอาด  ตลอดจนความเป็นระเบียบเรียบร้อยของจดหมาย
๒. ต้องมีใจความสมบูรณ์  สามารถสื่อสารความหมายตรงกันระหว่างผู้เขียนกับผู้รับ
๓. การใช้ภาษาต้องกะทัดรัด ชัดเจน ตรงจุดมุ่งหมายไม่อ้อมค้อม เหมาะสมแก่กาลเทศะและบุคคล
๔. มีความแนบเนียนในการใช้ภาษา   โดยคำนึงถึงจิตวิทยาของผู้รับเป็นสำคัญ
จดหมาย คือข้อความที่เขียนขึ้นเพื่อส่งสารจากบุคคลหนึ่งไปยังบุคคลหนึ่ง อาจมีความหมายรวมไปถึงกระดาษหรือสื่อที่ใช้เขียนหรือสร้างจดหมายนั้นจดหมายธุรกิจถือเป็นการสื่อสารธุรกิจรูปแบบหนึ่งเป็นจดหมายที่ใช้ติดต่อระหว่างกันในวงธุรกิจโดยมีจุดประสงค์อย่างใดอย่างหนึ่งในการดำเนินธุรกิจ เช่นเสนอขายสินค้าหรือบริการ สั่งซื้อ สินค้าและตอบรับการสั่งซื้อ ติดตามหนี้ ร้องเรียนเกี่ยวกับข้อผิดพลาดหรือความเสียหาย เป็นต้น จดหมายธุรกิจมีความแตกต่างจากจดหมายส่วนตัวบ้างในด้านรูปแบบและการใช้ถ้อยคำภาษา กล่าวคือจดหมายธุรกิจส่วนใหญ่มีรูปแบบและการใช้ภาษาเป็นทางการหรือค่อนข้างเป็นทางการ ไม่ใช้ภาษาปากหรือภาษาพูดดังที่มักปรากฏในจดหมายส่วนตัว
 หลักเกณฑ์และการใช้สำนวนภาษาในการเขียนจดหมาย
ผู้เขียนคงเคยเขียนจดหมายหรืออ่านจดหมายมาบ้างแล้ว คงจะสังเกตเห็นว่าจดหมาย
นั้นไม่ว่าประเภทใด จะต้องประกอบด้วยสิ่งต่าง ๆ ดังนี้
      ๑. ที่อยู่ของผู้เขียน เริ่มกึ่งกลางหน้าระหว่างเส้นคั่นหน้ากับริมของขอบกระดาษ
      ๒. วัน เดือน ปี ที่เขียนจดหมาย ให้เยื้องมาทางซ้ายของตำแหน่งที่เขียนที่อยู่เล็กน้อย
      ๓. คำขึ้นต้น ห่างจากขอบกระดาษด้านซ้าย ๑ นิ้ว
      ๔. เนื้อหา ขึ้นอยู่กับย่อหน้าตามปกติ อาจจะอยู่ห่างจากขอบกระดาษด้านซ้าย ๒ นิ้ว
      ๕. คำลงท้ายอยู่แนวเดียวกับที่อยู่ของผู้เขียน
      ๖. ชื่อผู้เขียน อยู่ใต้คำลงท้าย ล้ำเข้าไปเล็กน้อย
ข้อควรคำนึงในการเขียนจดหมาย
๑. เขียนถึงใครเพื่อจะเลือกใช้คำขึ้นต้นคำลงท้ายตลอดจนถ้อยคำสำนวนให้เหมาะสมกับผู้รับจดหมาย
๒. เขียนเรื่องใดบ้างเพื่อจะได้สื่อสารกันให้ตรงประเด็นและได้สาระครบถ้วนตามต้องการในส่วนนี้ผู้เขียนต้องคิดให้รอบคอบและแน่นอน ก่อนว่าจะเขียนเรื่องใดบ้าง และต้องหาข้อมูลให้ถูกต้องชัดเจนหากเป็นจำนวน วัน เวลา สถานที่ และเงื่อนไขต่าง ๆ ควรตรวจสอบให้แน่ชัด เพื่อป้องกันการคลาดเคลื่อนที่อาจเกิดขึ้นภายหลัง
๓. เขียนทำไมเพื่อจะได้ระบุวัตถุประสงค์ลงไปให้ชัดเจนแน่นอนเช่นเพื่อขอความร่วมมือเพื่อแจ้งให้ทราบ เพื่อให้พิจารณา เป็นต้นผู้รับจดหมายจะได้ไม่ลังเลสงสัยว่าผู้เขียนต้องการอะไรแน่
๔. เขียนอย่างไร เพื่อจะได้กำหนดรูปแบบของจดหมายเสียก่อนว่าควรใช้ลักษณะอย่างไร ควรมีเนื้อความกี่ตอนเนื้อความแต่ละตอนควรกล่าวถึงอะไรบ้างและควรเลือกสรรถ้อยคำ
อย่างไรจึงจะเหมาะสม
จดหมายสมัครงาน
จดหมายสมัครงานเป็นด่านแรกที่ว่าที่นายจ้างเราจะเห็นเป็นอันดับแรก ส่วนตัวแล้ว ผมมักจะชอบอ่านจดหมายภาษาอังกฤษซะมากกว่าเนื่องจากงานที่ทำและพอจะกรองได้ระดับหนึ่งว่า คนสมัครงาน เป็น มากน้อยแค่ไหน
การเขียนจดหมายที่ดีและทำให้เกิดความสะดุดตา เป็นเรื่องที่ควรพิจารณาเอาไว้บ้าง เนื่องจากองค์กรชั้นนำ มีคนมากมายต่างเขียนจดหมายรุมสมัครมากมายก่ายกอง ฉะนั้นการคัดทิ้งจึงเป็นเรื่องที่หลีกเลี่ยงไม่ได้ครับ หากด่านแรกเราไม่ผ่านเสียแล้วก็ยากครับ ที่จะไปถึงขั้นต่อไป เนื่องจากการสมัครงาน วัตถุประสงค์แรกเลยก็คือ ทำอย่างไรจึงจะได้ รับการเชิญมาสัมภาษณ์ ส่วนจะได้หรือไม่ได้ ก็เอาไว้เป็นขั้นตอนถัดไป

เผอิญไปเจอเว็บไซต์หนึ่งซึ่งขาย Package สำหรับเขียน Cover Letter แบบโดนใจเพื่อให้นายจ้างสนใจจะอ่าน Resumeของเราต่อ พอสรุปใจความได้ดังต่อไปนี้
.หัวเรื่องสำคัญมากครับ ส่วนใหญ่เราไม่ค่อยได้ให้ความสำคัญกับหัวเรื่องซักเท่าไหร่ อันนี้เป็นอาวุธทำลายกลยุทธ์ "อ่านผ่านแล้วลงถัง" ควรเขียนด้วยตัวหนา ๒ บรรทัดเป็นอย่างมาก ควรจะเข้าเป้าตรงประเด็นว่าทำไมคุณเหมาะกับงานนี้ หรือ ทำไมไม่ควรพลาดการนัดสัมภาษณ์คุณ มีตัวอย่าง ๒ ตัวอย่างข้างล่างนี้ครับ
The reasons why I believe I may be the candidate you are looking for regarding the [job title].
I would love the opportunity to be interviewed in person for the position of [job title].
.การจ่าหน้าถึงผู้รับ คนส่วนใหญ่มักใช้คำเริ่มต้นจาก ๓ กลุ่มนี้
. Dear Sir/Madam , To Whom It May Concern
. Dear HR Director , VP-HR ,Hiring Manager
. Dear Khun Passakorn , Dear Mr.Mitchell
ข้อ ๒.๑ ดูจะเป็นข้อที่มีคนเลือกใช้มากที่สุด แต่ในมุมมองเจ้าเว็บไซต์ดังกล่าวกลับเป็นข้อที่ไม่ควรใช้มากที่สุดหากหลีกเลี่ยงได้ ยิ่งTo Whom It May Concern หากหลีกเลี่ยงได้ควรหลีกเลี่ยง คุณควรทำการบ้านหน่อยว่า WHOM ของคุณอะคือใคร เอาให้ครบทั้งชื่อและนามสกุล ควรลองหาดูตามเว็บไซต์หรืออาจโทรไปหา เพราะว่าจริงๆแล้วส่วนใหญ่ในประกาศรับสมัครงานว่า คุณควรส่งจดหมายไปหาใคร ถ้าลงแค่ตำแหน่ง คุณอาจลองโทรไปถามกับว่าจริงๆแล้ว HR Director บริษัทที่คุณจะสมัครเค้าชื่อ-นามสกุลอะไร แต่หากหาไม่ได้ได้แต่ชื่อตำแหน่งก็คงไม่เป็นไร เพียงแต่นี่คือเคล็ดลับที่จะทำให้คนอ่านซึ่งต้องอ่านจดหมายรับสมัครงานหลายๆฉบับต่อวัน รู้สึกประทับใจ ส่วนข้อ ๓ นั่นแหละเหมาะที่สุด
.จดหมายไม่ควรบรรยายเกินหนึ่งหน้า มีการเว้นบรรทัดและเว้นช่องหรือเคาะ Space Bar ตามความเหมาะสมให้หายใจหายคอกันบ้าง ควรมีประมาณ ไม่เกิน ๓ ย่อหน้า ไม้งั้นจะดูเยอะและพาลทำให้ขี้เกียจอ่าน เขียนขายตัวเองให้มากที่สุดที่ตรงตามคุณสมบัติที่เค้าประกาศไว้และแน่นอน อย่าโม้ อันไหนไม่เจ๋งอย่าเขียนลงไป วัตถุประสงค์ของเนื้อความ อาจบรรยายผลงาน ความสำเร็จ และคุณสมบัติของคุณที่ตรงกับที่เค้าต้องการ จำไว้ว่าวัตถุประสงค์ของจดหมายสมัครงานคือ ทำให้เค้าเรียกคุณสัมภาษณ์ให้ได้ อย่างอื่นค่อยว่ากันที่หลัง เพราะหากคุณไม่ได้ถูกเรียก อย่างอื่นก็ไร้ความหมาย อาจจะลงท้ายจดหมายว่า เราสนใจที่จะได้รับการสัมภาษณ์ หรือ เราจะให้รายละเอียดเพิ่มเติมที่น่าสนใจแก่เค้า หากเราได้รับการสัมภาษณ์ อะไรแบบเนี้ย If possible, can we make an appointment for an interview in next week? I have researched (company name) and am excited about this opportunity. I would love the chance to interview for this position and am available at your earliest convenience.
.การปฏิบัติการ Double Action Theory
ถ้าคุณส่งจดหมายไปแล้ว ๒-๓ อาทิตย์แล้วเงียบให้ใช้มุขนี้เพิ่มเติม อาจได้ผลหรือไม่ได้ผลแต่ก็ดีกว่าเงียบหายไปกับสายลม ให้เขียนจดหมายซ้ำไปอีกฉบับ โดยบรรยายเริ่มต้นว่าI realize you have probably received many applications for the [job title ]. I am extremely interested in this position and would love the opportunity to be interviewed. I am following up with this letter and my attached resume in case my originals were lost in first time around. แล้วก็ต่อด้วยจดหมายเดิมที่เขียนไว้ครั้งแรก
.หลังจากได้รับการสัมภาษณ์แล้วต้องมีจดหมายติดตามอีกหนึ่งฉบับ(Follow Up Letter) อาจแสดงความขอบคุณ ความกรุณาที่ให้โอกาสสัมภาษณ์และเน้นย้ำว่าคุณสนใจงานนี้มากๆ หลายคนที่สัมภาษณ์มักลืมจดหมายสำคัญฉบับนี้เนื่องจากอาจไม่ได้ใส่ใจ แต่จงจำไว้ว่า โอกาสสร้างความประทับใจและความแตกต่างจากผู้สมัครคนอื่นมีแค่ครั้งเดียว
อ่านแล้วดูมั่นมากใช่ไหมครับ แต่อย่างไรก็ดี ก็คงต้องขึ้นอยู่กับนายจ้างแต่ละรายและสถานการณ์ด้วยครับ ส่วนที่ยกตัวอย่างมานี้น่าจะเหมาะกับนายจ้างต่างชาติที่ชอบคนมั่นใจๆ หน่อยแหละครับ
จดหมายขอเปิดเครดิต                                
จดหมายขอเปิดเครดิต หรือจดหมายขอเปิดบัญชีเงินเชื่อ  คือ จดหมายที่ลูกค้าต้องการจะติดต่อเรื่องการค้าด้วยบัญชีเงินเชื่อ ซึ่งลูกค้าที่ขอเปิดเครดิตต้องแสดงรายละเอียดส่วนตัว และกิจการของตน  พร้อมระบุชื่อบุคคลที่จะให้รายละเอียดเกี่ยวกับฐานะทางการเงินของตนต่อบริษัทห้างร้านที่จะขอเปิดบัญชีเงินเชื่อได้  ดังนั้นจะต้องเขียนให้เจ้าหนี้เชื่อถือและไว้วางใจ  และสร้างความสัมพันธ์อันดีต่อกันในการติดต่อธุรกิจ  ถ้าบริษัทห้างร้านนั้นยอมให้ลูกค้าเปิดบัญชีเงินเชื่อก็จะตอบรับให้เครดิต  แต่ถ้าปฏิเสธก็ต้องปฏิเสธอย่างนุ่มนวลโดยหลีกเลี่ยงถ้อยคำที่จะทำให้ลูกค้าขุ่นเคืองใจ  พร้อมทั้งเสนอวิธีการที่จะให้เปิดเครดิตในอนาคต  หลักสำคัญในการเขียนจดหมายขอเปิดเครดิต คือ
๑.ระบุรายละเอียดต่าง ๆ ที่จะช่วยในการพิจารณาการให้เครดิต โดยแจ้งฐานะทางการเงินประกอบการพิจารณาด้วย
๒.ระบุชื่อและที่อยู่ของผู้รับรองให้ชัดเจนและสามารถติดต่อสอบถามได้โดยสะดวก  และบุคคลผู้รับรองควรเป็นบุคคลที่มีชื่อเสียงหรือมีตำแหน่งสำคัญในวงการธุรกิจที่เป็นที่ยอมรับและเชื่อถือของบุคคลทั่วไป
๓.ระบุสัญญาหรือระเบียบที่จะปฏิบัติเมื่อได้รับเครดิตแล้ว เช่น กำหนดระยะเวลาชำระหนี้ให้แน่นอน เป็นต้นการเขียนข้อความในจดหมายขอเปิดเครดิตนั้น  โดยทั่วไปในย่อหน้าแรกจะกล่าวถึงความต้องการในการขอเปิดเครดิต  ย่อหน้าที่สองกล่าวถึงผู้ที่จะให้การรับรองหรือสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติม  และย่อหน้าสุดท้ายกล่าวถึงความหวังที่จะได้รับการเปิดเครดิต 
จดหมายเสนอขายสินค้า และบริการ
จดหมายเสนอขายสินค้าและบริการ คือ จดหมายที่บริษัทห้างร้านต่าง ๆ มีไปถึงลูกค้าที่คิดว่าจะสนใจในสินค้านั้น  โดยชี้แจงคุณภาพ ราคา และสิ่งจูงใจต่าง ๆ ที่จะเรียกร้องความสนใจให้ลูกค้ามีความต้องการสินค้าและบริการนั้น  และพร้อมที่จะสั่งซื้อทันที  การเขียนจดหมายเสนอขายสินค้าหรือบริการจึงควรมีลักษณะดังนี้
๑.เรียกร้องความสนใจจากลูกค้าด้วยเงื่อนไขใดเงื่อนไขหนึ่ง หรือประโยชน์ที่จะได้รับจากสินค้านั้น ๆ เช่น บริษัทฯ ยินดีจะเรียนแนะนำเครื่องปรับอากาศ เนชั่นขนาดกะทัดรัดแต่ให้ความเย็นที่สะใจ  ทั้งประหยัดค่าไฟจนคุณแปลกใจ พร้อมรีโมทคอนโทรลควบคุม
๒.ให้ความกระจ่างของสินค้าหรือบริการที่ต้องการเสนอขาย  แต่ควรเสนอตามข้อเท็จจริงของคุณสมบัติ หรือวิธีการใช้ของสินค้านั้น ไม่ควรแอบอ้างหรือโฆษณาชวนเชื่อจนเกินจริง เช่น หม้อหุงข้าวชนิดนี้มีคุณสมบัติพิเศษ ให้ความร้อนสูงสม่ำเสมอ ไม่มีเขม่าหรือทำให้อากาศเสีย ระบบไฟฟ้าปลอดภัย กินไฟน้อย นอกจากใช้หุงแล้ว ยังใช้ตุ๋น ทอด ย่าง ได้อีกด้วย ทั้งยังทำความสะอาดง่าย ทนทาน และเรารับประกันฟรี ๑ปี
๓.พยายามก่อให้เกิดความพอใจ และต้องการสินค้าหรือบริการนั้น โดยยั่วยุให้ตัดสินใจที่จะสั่งซื้อ เช่น เพื่อเปิดโอกาสให้คุณได้ทดสอบคุณภาพของกระดาษถ่ายเอกสาร บริษัทจึงขอมอบคูปอง ๑ ใบเพื่อนำไปแลกซื้อกระดาษถ่ายเอกสาร จำนวน ๑ รีมในราคาเพียง ๘0 บาท (จากราคาปกติ ๑๒0 บาท) หวังว่าคุณคงไม่ปล่อยให้โอกาสดีเช่นนี้ผ่านไปเปล่า ๆ
๔.ให้ความหวังว่าจะได้รับใบสั่งซื้อหรือจดหมายสั่งซื้อจากลูกค้า เช่น โปรดไว้ใจ และติดต่อสอบถามรายละเอียดโดยตรงกับเรา เราพร้อมที่จะบริการท่านทุกเมื่อ

จดหมายสอบถาม
จดหมายสอบถาม คือ จดหมายที่ติดต่อระหว่างลูกค้ากับบริษัท ห้างร้านต่าง ๆ ที่ต้องการจะสอบถามรายละเอียดเกี่ยวกับสินค้า เช่น ชนิด คุณภาพ ราคา ส่วนลด วิธีการใช้ ฯลฯ โดยอาจจะให้ทางบริษัทนั้นส่งรายละเอียดหรือแคตตาล็อกมา เมื่อบริษัทได้รับจดหมายสอบถามแล้วก็จะตอบจดหมาย ที่เรียกว่า จดหมายตอบสอบถาม ทันที  เพื่อแสดงให้เห็นว่าทางบริษัทให้ความสำคัญกับลุกค้าของตนและลูกค้าผู้สอบถามก็เป็นบุคคลหนึ่งที่สนใจสินค้านั้น  ดังนั้นจึงมีโอกาสที่จะจำหน่ายสินค้าได้มากกว่าการโฆษณาชนิดอื่น
                จดหมายสอบถามนี้ไม่จำเป็นต้องเป็นการสอบถามเฉพาะเรื่องสินค้าหรือบริการเท่านั้น  อาจเป็นการสอบถามข้อมูลเพื่อการวิจัยหรือสอบถามการปฏิบัติงานหรือความประพฤติของผู้สมัครงานที่อ้างผู้รับรองให้สอบถาม ซึ่งแต่ละชนิดก็มีวิธีในการเขียน ดังนี้
๑.การเขียนจดหมายต้องสั้น กะทัดรัด ชัดเจน และได้ใจความสมบูรณ์ เช่น ถ้าต้องการถามรายละเอียดเกี่ยวกับสินค้าก็ต้องบอกว่าทราบจากโฆษณาแหล่งใจและเมื่อใด เช่น ผมได้อ่านโฆษณาสินค้าของบริษัทท่านจากหนังสือพิมพ์ไทยรัฐ ฉบับวันที่ ๑0 กันยายน  ๒๕๔๖
๒.ผู้เขียนควรแจ้งเหตุผลในการสอบถามว่าต้องการจะสอบถามเพื่อการใดด้วยถ้อยคำที่สุภาพ เพื่อผู้รับจะปฏิบัติตามที่ผู้เขียนต้องการ เช่น ผมมีความสนใจเป็นอย่างยิ่งและต้องการจะเป็นตัวแทนจำหน่ายเสื้อผ้านักกีฬาของบริษัทท่านในจังหวัดขอนแก่นและจังหวัดใกล้เคียง  จึงใคร่ขอให้ท่านกรุณาส่งรายละเอียดเพิ่มเติมพร้อมเงื่อนไขและหลักเกณฑ์ต่าง ๆ ไปให้แก่ผมตามที่อยู่ข้างต้นจะเป็นพระคุณยิ่ง
                ๓. ผู้เขียนควรแสดงความขอบคุณล่วงหน้าสำหรับสิ่งที่จะได้รับจากการสอบถาม ด้วยความสุภาพและจริงใจ เช่น ผมหวังเป็นอย่างยิ่งว่าคงจะได้รับการพิจารณาจากบริษัทท่านด้วยดี ขอขอบคุณล่วงหน้ามา ณ โอกาสนี้ด้วย
จดหมายสั่งซื้อ
จดหมายสั่งซื้อสินค้า คือ จดหมายที่ลูกค้าเขียนสั่งซื้อสินค้าที่ตนต้องการเมื่อเกิดความพอใจในสินค้านั้น  ซึ่งบางครั้งอาจจะเป็นแบบฟอร์มการสั่งซื้อที่บริษัทห้างร้านส่งมาให้ลูกค้าพร้อมกับจดหมายตอบสอบถาม  ส่วนจดหมายตอบรับการสั่งซื้อก็เป็นจดหมายตอบขอบคุณหรือแจ้งว่าได้ส่งสินค้านั้นมาแล้วให้ทราบ  การเขียนจดหมายสั่งซื้อนั้นควรคำนึงถึงหลักในการเขียน ดังนี้
๑.เขียนชื่อที่อยู่ของผู้สั่งซื้อสินค้าให้ชัดเจนเพื่อความสะดวกรวดเร็วในการส่งสินค้า และความถูกต้องของสถานที่ที่สั่งซื้อ
๒.ระบุชนิดของสินค้า จำนวน ราคา ขนาด เบอร์ แบบ สี  ถ้ามีหลายอย่างต้องระบุให้ชัดเจน ซึ่งอาจเขียนหรือทำเป็นตารางก็ได้ เช่น

อันดับ
รายการ

จำนวน

ราคาต่อหน่วย

จำนวนเงิน

.
.
.
.

หนังสือธุรกิจทั่วไป

หนังสือการขาย
หนังสือการบัญชีเบื้องต้น
หนังสือปฏิบัติงานสำนักงาน
0
0
๖๕
๒๕
๑๒0
๙๕
๑๕0
0
,00
,00
,๗๕0
,00


๒๑0

รวม

๒๔,๑๕0
๓.บอกวิธีการชำระเงิน หรือถ้าส่งเงินเป็นดร๊าฟ ธนาณัติ ก็แจ้งไปให้ชัดเจน เช่น พร้อมกับจดหมายฉบับนี้ ผมได้ส่งดร๊าฟ จำนวน ๒๔,๑๕0 บาท มาด้วยแล้ว หวังว่าคุณคงส่งหนังสือตามรายการดังกล่าวข้างต้นไปให้ผมโดยด่วน
๔.บอกวิธีการส่งของให้ชัดว่าต้องการส่งทางไปรษณีย์  รสพ. หรือ บริษัทขนส่ง เช่น กรุณาจัดส่งหนังสือทาง รสพ. ให้ถึงภายในวันที่ ๒๑ ตุลาคมนี้
๕.ใช้ถ้อยคำในการเขียนให้สุภาพ ถูกต้อง และชัดเจน 
จดหมายต่อว่าและปรับความเข้าใจ
จดหมายต่อว่า คือ จดหมายที่ลูกค้าเขียนไปยังผู้ขายสินค้าเพื่อต่อว่าในเรื่องสินค้าที่ส่งไปชำรุด ผิดขนาด ไม่ครบจำนวน หรือส่งล่าช้า ฯลฯ  และเมื่อผู้ขายได้รับจดหมายต่อว่าก็จะต้องรีบเขียนจดหมายปรับความเข้าใจโดยชี้แจงเหตุผล หรือสาเหตุของความผิดพลาด  โดยแสดงความเสียใจและยอมรับข้อผิดพลาดและยินดีปฏิบัติตามเงื่อนไขด้วยดี  การเขียนจดหมายต่อว่ามีหลักการเขียน ดังนี้

๑.ระบุความผิดพลาดให้ชัดเจน  โดยใช้ภาษาที่สุภาพ ไม่ก้าวร้าว พร้อมทั้งชี้แจงเหตุผล เช่น บริษัทขนส่งถาวร จำกัด ได้นำชุดแก้วเจียระไนครบชุดมาส่งมอบให้ดิฉันที่บ้านเรียบร้อยแล้ว  เมื่อดิฉันตรวจความเรียบร้อยทันที ขณะที่เจ้าหน้าที่ผู้นำมายังอยู่  แต่เมื่อพิจารณาลายแก้วเจียระไนแล้ว  พบว่าลายโถใส่น้ำผลไม้เป็นคนละลายกับลายชิ้นอื่น  เพราะชุดแก้เจียระไนชิ้นอื่นเป็นดอกคาร์เนชั่น แต่ลายโถน้ำผลไม้เป็นลายดอกเห็ด แสดงว่าจัดชุดผิดให้
๒.ชี้แจงรายละเอียดในการแก้ไขข้อผิดพลาดให้ผู้ขายทราบด้วยถ้อยคำที่สุภาพ เช่น ดิฉันจึงได้จัดห่อและส่งคืนให้เจ้าหน้าที่ผู้นำส่งแล้ว จึงเรียนมาให้ทราบ และขอได้โปรดจัดการส่งมาให้ถูกชุดโดยด่วน
๓.ไม่ควรระบุหรือกล่าวตำหนิว่าเป็นความผิดของใครโดยเฉพาะ แต่กล่าวด้วยถ้อยคำที่เป็นข้อเท็จจริง เช่น  เมื่อทางบริษัทฯ ได้รับจดหมายแล้ว กรุณาแจ้งให้ทราบด้วย ขอบคุณการเขียนจดหมายต่อว่าเป็นสิ่งที่ค่อนข้างยากสำหรับผู้ที่ไม่สามารถควบคุมอารมณ์ได้  เพราะเมื่อเราได้รับสินค้าแล้วอาจเกิดความไม่ชอบใจด้วยสาเหตุของความผิดพลาดต่าง ๆ นานา ดังนั้นเพื่อให้เป็นการรักษาไมตรีต่อกันควรนึกถึงความมีสัมพันธภาพที่ดีต่อกันเป็นอันดับแรก
จดหมายทวงหนี้ และเตือนหนี้
จดหมายทวงหนี้ คือ จดหมายที่ผู้ขายเขียนไปถึงลูกค้าเพื่อแจ้งหนี้ให้ทราบ  หากลูกค้าเพิกเฉยก็อาจจะต้องส่งจดหมายเตือนหนี้ไปอีกครั้ง
                การเขียนจดหมายทวงหนี้จึงต้องระมัดระวังคำพูดไม่ให้เป็นการดูหมิ่นเหยียดหยามลูกค้า แต่ให้ความหวังว่าลูกค้าจะชำระเงินค่าสินค้าเพื่อการเป็นลูกค้าที่ดีกันต่อไป  ถ้าส่งจดหมายเตือนหนี้ไป ๒-๓ ฉบับ แต่ยังไม่ได้รับคำตอบอาจจะยื่นกำหนดเวลาชำระเงินให้เป็นคำขาด และอาจจะต้องอ้างถึงการดำเนินการตามกฎหมายก็ได้  แต่จะด้วยวิธีการใดก็ตามต้องใช้ลักษณะการเขียนที่ถูกต้องและเหมาะสมต่อกาลเทศะจึงจะทำให้ประสบความสำเร็จคือเรียกเก็บหนี้สินที่ค้างไว้ได้
                การเขียนจดหมายทวงหนี้ในครั้งแรกควรเขียนเพียงเตือนลูกค้าว่าครบกำหนดชำระหนี้แล้วขอให้ลูกค้ารีบชำระเงินด้วย เช่น  ปรากฏตามบัญชีนั้น ท่านเป็นลูกหนี้เราจำนวนเงิน ๓0,000 บาท  บัดนี้ได้พ้นกำหนดชำระหนี้แล้ว  ได้โปรดชำระให้เรียบร้อยด้วย ขอบคุณ
                กรณีเขียนจดหมายทวงหนี้ไปครั้งหนึ่งแล้วยังไม่ได้รับคำตอบจากลูกค้าแต่อย่างไร  อาจมีการเขียนจดหมายติดต่อเตือนหนี้เป็นครั้งที่สองโดยขอให้ลูกค้าแจ้งเหตุผลอันสมควร และเขียนอย่างสุภาพ นุ่มนวลที่สุด เช่น ผมยังไม่ได้รับจดหมายตอบหรือคำชี้แจงจากท่านแต่ประการใด  หากท่านมีข้อสงสัยหรือกำลังตรวจสอบบัญชีอยู่ กรุณาแจ้งให้ทราบโดยด่วนด้วยเพื่อการปรึกษาหารือและแก้ไข
                และหากมีการเขียนจดหมายเตือนหนี้อีก  ควรอ้างถึงความปรารถนาดีที่จะรักษาชื่อเสียงและความเชื่อถือทางการเงินที่ดีของลูกหนี้ที่อาจมีผลกระทบต่อเครดิตในอนาคตได้  และขั้นสุดท้ายอาจนำไปสู่การดำเนินตามกฎหมาย เช่น เราพร้อมที่จะช่วยท่านแก้ปัญหาเสมอ  และไม่ประสงค์ที่จะได้ยินว่าลูกค้าที่เคยได้รับการยกย่องว่ามีเครดิตดีนั้นหมดเครดิตไปเสียแล้ว  เราไม่ประสงค์ที่จะกระทำสิ่งใดเพื่อทำลายเกียรติของลูกค้า แต่ในขณะเดียวกันลูกค้าทุกคนก็ควรเข้าใจและให้ความร่วมมือต่อบริษัทเราบ้าง
 จดหมายไมตรีจิต
จดหมายไมตรีจิตเป็นจดหมายที่เขียนเพื่อเสริมสร้างความสัมพันธ์ เพื่อให้เกิดผลต่อความสำเร็จในธุรกิจ
                นักธุรกิจสามารถใช้จดหมายสร้างความสัมพันธ์และความประทับใจในสังคมได้เป็นอย่างดี  ซึ่งอาจจำแนกประเภทของจดหมายโต้ตอบในสังคมธุรกิจได้ดังนี้
๑.จดหมายอวยพรหรือแสดงความยินดี และจดหมายตอบขอบคุณผู้อวยพรหรือแสดงความยินดี
๒.จดหมายแสดงความเห็นใจหรือร่วมแสดงความเสียใจ และจดหมายตอบขอบคุณผู้แสดงความเห็นใจหรือร่วมแสดงความเสียใจ
๓.จดหมายมอบของขวัญ ของที่ระลึก ตลอดจนการบริจาคเงินหรือสิ่งของเพื่อการกุศล และจดหมายรับมอบ-ขอบคุณ
๔.จดหมายสอบถามและตอบสอบถามที่มิใช่งานธุรกิจโดยตรง
๕.จดหมายแนะนำหรือรับรองบุคคล

หลักการเขียนจดหมายไมตรีจิต
๑.เขียนให้ผู้รับรู้สึกว่าตัวเองมีความสำคัญ มีความพอใจ
๒.ใช้ภาษาธรรมดา อ่านเข้าใจง่าย
๓.เขียนด้วยความจริงใจ สนใจ เอาใจใส่ผู้รับ ไม่เชื้อเชิญให้ซื้อสินค้าหรือโฆษณาสินค้า
๔.การเขียนจดหมายขอบคุณ ควรเขียนเนื่องในโอกาสที่บุคคลหรือบริษัทห้างร้านทำประโยชน์ให้ เช่น
-ได้ลูกค้าใหม่
-ลูกค้าประจำสั่งซื้อสินค้าเป็นจำนวนมาก
-ลูกค้าชำระเงินตราตามเวลา
-บุคคลอื่นหรือบริษัทอื่นให้ความช่วยเหลือกิจการ
-พนักงานในบริษัทตั้งใจปฏิบัติหน้าที่เป็นอย่างดี
ข้อความในจดหมายขอบคุณมี ๒ ตอน คือ
๑.สาเหตุหรือโอกาสที่เขียนมาขอบคุณ
๒.แสดงความขอบคุณด้วยความจริงใจ